よくある生活質問集・คำถามที่พบบ่อย

การเข้าออกประเทศ

Q: ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่น หากทำหนังสือเดินทางหาย ควรจะต้องทำอย่างไร

A: ในกรณีที่ชาวต่างชาติทำหนังสือเดินทาง มีขั้นตอนการเดินเรื่องดังนี้

  1. แจ้งหายที่สถานีตำรวจใกล้พื้นที่ เพื่อให้ออกใบรับแจ้งความ “ใบแจ้งสูญหาย” หรือ “ใบรับรองรับแจ้งการถูกลักทรัพย์”
  2. ติดต่อกับสถานทูตหรือสถานกงสุลประเทศของตนที่ประจำอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อยื่นขอทำหนังสือเดินทาง
    ใหม่ (หนังสือเดินทางชั่วคราว, หนังสือรับรองการเดินทาง) ให้

Q: สถานะการพำนักคืออะไร ประเภทของสถานะการพำนักมีอย่างไรบ้าง

A: ในการที่ชาวต่างชาติได้รับอนุญาตให้ทำกิจกรรมตามประเภทที่กำหนดหรืออัตภาพ  สถานภาพระหว่างที่พำนักอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นนั้น ได้ถูกกำหนดไว้ตามกฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยแบ่งเป็นหลายสถานะ
ตารางประเภทสถานภาพการพำนัก

Q: กรณีที่เข้าประเทศด้วยวีซ่าการพำนักระยะสั้น แต่ต้องการจะยืดระยะเวลาการพำนัก สามารถต่อวีซ่าได้หรือไม่

A: ตามปกติการอนุญาตต่อวีซ่าการพำนักระยะสั้นนั้น หากมิใช่เหตุผลสำคัญที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จะไม่ออกให้ กรุณาตรวจสอบรายละเอียดได้ที่โฮมเพจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

Q: ต้องการทำงานที่ญี่ปุ่นโดยเป็นครูสอนภาษา ควรจะต้องดำเนินการอย่างไร

A: สถานภาพการพำนักที่จะยื่นขอนั้นแตกต่างกันไป ตามลักษณะของผู้จ้าง

  1. วีซ่า “อาจารย์” เป็นกิจกรรมการสอน, การวิจัย ผู้แนะนำการวิจัยในมหาวิทยาลัย สถาบันเทียบเท่า หรือ โรงเรียนมัธยมปลายสายอาชีพ
  2. วีซ่า “การศึกษา” เป็นกิจกรรมการสอนภาษาหรือการสอนอื่น ๆ ในโรงเรียนประถม โรงเรียนมัธยมต้น โรงเรียนมัธยมปลาย โรงเรียนการศึกษาพิเศษสนับสนุนการช่วยเหลือตัวเอง สถาบันการศึกษาเฉพาะทาง โรงเรียนทั่วไป หรือสถาบันเท่าเทียมที่เกี่ยวข้องที่มีอุปกรณ์หรือการจัดตั้งเกี่ยวกับการศึกษา
  3. วีซ่า “ผู้เชี่ยวชาญ, ผู้มีความรู้ทางวัฒนธรรม, กิจการต่างประเทศ” ถูกจ้างให้เป็นครูในโรงเรียนสอนภาษาที่ กิจการต่างๆนั้นเป็นผู้บริหาร หรือเป็นครูที่ทำการสอนภาษาในบริษัทที่จัดการอบรมทางด้านภาษาต่าง ประเทศให้กับพนักงานเกี่ยวกับระเบียบการยื่นขอสถานภาพการเป็นผู้อาศัยต่าง ๆ กรุณาตรวจสอบได้ที่

โฮมเพจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

Q: นักศึกษาต่างชาติสามารถพำนักต่อเพื่อหางานทำหลังจากจบการศึกษาแล้วได้หรือไม่

A: นักศึกษาต่างชาติจบการศึกษาแล้ว แต่ยังไม่กำหนดสถานที่ทำงานในญี่ปุ่นนั้น ให้เปลี่ยนสถานภาพการพำนักเป็น “สถานภาพผู้มีกิจกรรมพิเศษ” ก่อน เพื่อหางานทำต่อได้ สามารถใช้ “สถานภาพผู้มีกิจกรรมพิเศษ” เป็นระยะยาวที่สุดหลังจากจบการศึกษาแล้ว 1 ปี โดยมีการรับรองจากสถาบันการศึกษา ว่าจะสนับสนุนช่วยเหลือในการหางานทำนั้น กรุณาตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ โฮมเพจของกระทรวงยุติธรรม

Q: มีสถาบันการศึกษาใดที่สามารถออกวีซ่า “นักเรียน”

A: สถาบันการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นเช่นมหาวิทยาลัย, โรงเรียนมัธยมปลายสายอาชีพ, โรงเรียนมัธยม
ปลาย (รวมถึงโรงเรียนมัธยมต้นที่มีหลักสูตรมัธยมปลายด้วย) หรือหลักสูตรมัธยมปลายของโรงเรียนการศึกษาพิเศษสนับสนุนการช่วยเหลือตัวเอง, โรงเรียนมัธยมต้น (รวมถึงโรงเรียนมัธยมต้นที่มีหลักสูตรประถมด้วย) หรือหลักสูตรมัธยมต้นของโรงเรียนการศึกษาพิเศษสนับสนุนการช่วยเหลือตัวเอง, โรงเรียนประถมศึกษาหรือหลักสูตรประถมศึกษาของโรงเรียนการศึกษาพิเศษสนับสนุนการช่วยเหลือตัวเอง, สถาบันการศึกษาเฉพาะทางหรือโรงเรียนทั่วไป หรือสถาบันเท่าเทียมที่เกี่ยวข้องที่มีอุปกรณ์หรือการจัดตั้งเกี่ยวกับการศึกษา

Q: ต้องการจะแต่งงานกับสตรีชาวต่างชาติ ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ หลังจากแต่งงานที่ประเทศของคู่สมรสแล้ว ต้องการเรียกคู่สมรสมาใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น

A: ระเบียบการสมรส: ก่อนอื่นปฏิบัติตามระเบียบวิธีการสมรสที่ถูกต้องของต่างประเทศ วิธีการเรียกคู่สมรสมาญี่ปุ่นนั้นมี 2 วิธีดังนี้

[ ระเบียบการขอวีซ่าให้คู่สมรส ]

  1. “การยื่นขอวีซ่าล่วงหน้า” เป็นวิธีที่ผู้ยื่นชาวต่างชาติทำการยื่นขอวีซ่า “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น” โดยตรง ณ สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศนั้น
  2. “ใบรับรองสถานภาพการพำนัก” เป็นวิธีหลังจากคู่สมรสคนญี่ปุ่นกลับญี่ปุ่นแล้ว การยื่นขอ “ใบรับรองสถานภาพการพำนัก” ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่อยู่ใกล้กับที่พำนักของตน
    เมื่อได้เอกสารดังกล่าวแล้ว ส่งไปให้คู่สมรสชาวต่างชาติ เพื่อนำไปยื่นขอวีซ่า ณ สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศนั้น

Q: พำนักอยู่ที่ญี่ปุ่นโดยอยู่ในฐานะนักศึกษาต่างประเทศ ต้องการเรียกภรรยาและบุตรมาใช้ชีวิต ร่วมกันที่ญี่ปุ่น ควรจะต้องทำระเบียบการอย่างใด และภรรยจะทำงานได้หรือไม่

A: นักศึกษาต่างประเทศ ผู้เป็นฝ่ายยื่นขอวีซ่าจะต้องยื่นขอใบรับรองสถานภาพการพำนัก “อาศัยอยู่กับครอบครัว” ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่อยู่ใกล้กับที่พำนักของตน การยื่นขอใบรับรองสถานภาพการพำนัก “อาศัยอยู่กับครอบครัว” กรุณาสอบถามกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสถานภาพการพำนัก “อาศัยอยู่กับครอบครัว” นี้ใม่อนุญาตให้ทำงาน แต่ถ้ายื่นขอ “ใบอนุญาตทำกิจกรรมนอกเหนือจากคุณวุฒิที่ได้รับอนุญาต” ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแล้วจะสามารถทำงานชั่วคราว (อะรุไบโตะ) ได้ (มีการจำกัดเวลาและจำกัดเนื้อหาในการทำงาน

Q: ต้องการให้ลูกขึ้นมาพำนักอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น ปัจจุบันแต่งงานใหม่แล้วกับผู้ชายญี่ปุ่น, ต้องการให้ลูกซึ่งเกิดจากการสมรสครั้งก่อนมาพำนักอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นด้วยกัน ลูกอายุ10 ขวบ

A: บุตรของคนต่างประเทศผู้ที่ปัจจุบันที่มีสถานภาพพำนักอาศัยเป็น “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น” และอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น, และไม่ใช่บุตรที่เกิดกับคู่สมรสคนญี่ปุ่นปัจจุบัน, บุตรของคู่สมรสคนต่างประเทศนั้นจะถือว่าเป็น “ลูกติด”, ในกรณีนี้, อาจจะได้รับการอนุญาตให้พำนักอาศัยได้ในฐานะ

“ผู้พำนักอาศัยระยะยาว (เทจูชะ)” ตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ โฮมเพจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสถานภาพการพำนัก

Q: สามีภรรยาชาวต่างประเทศที่พำนักอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น ได้คลอดบุตรแล้ว ควรจะต้องทำระเบียบการ อย่างไร

A: ในกรณีที่ทั้งบิดาและมารดาเป็นชาวต่างชาติ บุตรที่เกิดนั้นก็จะมีสัญชาติเป็นชาวต่างชาติด้วย ดังนั้นจำเป็น
ต้องยื่นขอ “สถานภาพการพำนัก” ให้บุตร การยื่นขอ “สถานภาพการพำนัก” ได้ ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองภายใน 30 วันนับแต่วันเกิด และถ้าจะออกนอกประเทศญี่ปุ่นภายใน 60 วันนับแต่วันเกิดไม่จำเป็นต้องยื่นขอวีซ่า (ยกเว้นกรณีที่ออกนอกประเทศโดยวีซ่าเพื่อกลับเข้าประเทศอีกครั้ง (ไซนิวโคะคุเคียวคะ หรือ รีเอ็นทรีวีซ่า)) ในกรณีที่ทั้งบิดาและมารดาพำนักอาศัยโดยไม่มีสถานภาพการพำนัก หรืออยู่ระหว่างดำเนินการเนรเทศออกนอก
ประเทศ บุตรที่เกิดนั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้ได้สถานภาพการพำนัก

[ การแจ้งเกิด ]
ต้องดำเนินการแจ้งเกิดภายใน 14 วันนับแต่วันเกิด เมื่อแจ้งเกิดแล้ว จะออกทะเบียนบ้านให้โดยลงบันทึกว่าเป็น “ผู้มีสถานภาพพำนักอาศัยโดยการกำเนิด” ในทะเบียนบ้าน
(หากไม่ทำการยื่นขอสถานภาพการพำนักภายใน 30 วัน ก็จะถูกยกเลิกการขึ้นทะเบียนบ้าน)

[ การขอสถานภาพการพำนัก ]
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอสถานภาพการพำนักเนื่องจากการกำเนิด มีดังต่อไปนี้

  • เอกสารรับรองการกำเนิด (สูติบัตร, สมุดประจำตัวแม่และเด็ก ฯลฯ)
  • เอกสารแสดงการปฏิบัติกิจกรรมในประเทศญี่ปุ่น
  • หนังสือเดินทาง (จดหมายแจ้งเหตุผลในกรณีที่แสดงหนังสือเดินทางไม่ได้)

[ ไซริวการ์ด ]
เมื่อได้รับสถานภาพการพำนัก (วีซ่า) และเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นระยะกลางและระยะยาวแล้ว จะได้รับ “ไซริวการ์ด”

Q: มีสถานภาพการพำนักเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นระยะยาว แต่ต้องการกลับประเทศชั่วคราว ขอทราบ ระเบียบการที่จำเป็น

A: ผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นระยะกลาง และระยะยาวจะเดินทางออกนอกประเทศและกลับเข้ามาอีกครั้ง โดยใช้
สถานภาพการพำนักที่มีอยู่เดิมนั้น มี 2 วิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ออกนอกประเทศดังนี้

กรณีที่ออกนอกประเทศไม่เกิน 1 ปี:
ชาวต่างชาติที่มีหนังสือเดินทางและไซริวการ์ดที่ยังไม่หมดอายุ (ใบรับรองวีซ่าถาวรพิเศษสำหรับผู้ถือวีซ่าถาวรพิเศษ) เดินทางออกนอกประเทศได้ภายใน 1 ปี (*กรณีที่วีซ่าหลังเดินทางออกนอกประเทศมีอายุเหลือไม่ถึง 1 ปี ก็จะอนุญาตให้จนถึงหมดอายุวีซ่า และสำหรับผู้ถือวีซ่าถาวรพิเศษได้ภายใน 2 ปี) และต้องการกลับเข้ามาอีกครั้งโดยใช้สถานภาพการพำนักที่มีอยู่เดิมนั้น ตามหลักไม่จำเป็นต้องขอ รีเอ็นทรีวีซ่า ผู้ที่ต้องการออกนอกประเทศโดยใช้ระบบนี้จะไม่สามารถต่ออายุวีซ่าที่ต่างประเทศได้ (*) ถ้าไม่กลับเข้ามาใหม่หลังออกนอกประเทศแล้วก่อนครบ 1 ปี จะสูญเสียสถานภาพการพำนักที่มีอยู่

กรณีที่ออกไปนอกประเทศเกิน 1 ปีขึ้นไป (เกิน 2 ปี สำหรับผู้มีวีซ่าถาวรพิเศษ):
ก่อนออกนอกประเทศ ขอ “วีซ่าเพื่อกลับเข้าประเทศอีกครั้ง หรือรีเอ็นทรีวีซ่า” ได้ ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่อยู่ใกล้กับที่พำนักของตน

ช่วงระยะเวลาจำกัด:
ระยะเวลาของวีซ่าเพื่อกลับเข้าประเทศอีกครั้ง หรือรีเอ็นทรีวีซ่านั้น สุงสุด ”5 ปี” (6 ปี สำหรับผู้ถือวีซ่าถาวรพิเศษ)

Q: เข้ามาญี่ปุ่นด้วยวีซ่า “พำนักระยะสั้น”, จะได้รับบัตรพำนักอาศัย (ไซริวการ์ด) หรือไม่ เนื่องจากมีกำหนดจะทำระเบียบการต่อวีซ่า”พำนักระยะสั้น”เพื่อพำนักเกินกว่า 3 เดือน, จึงต้องการขอให้ออกบัตรให้, เพื่อเป็นหลักฐานแสดงตัวพิสูจน์บุคคล

A: ในกรณีที่เข้ามาญี่ปุ่นด้วยวีซ่า “พำนักระยะสั้น” ถึงแม้จะต่อวีซ่าแล้วพำนักอาศัยอยู่เกิน 3 เดือนขึ้นไปก็ตามจะไม่ได้รับการออกบัตรพำนักอาศัย (ไซริวการ์ด) ผู้ที่จะได้รับบัตรพำนักอาศัยคือ คนต่างประเทศที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่นในระยะเวลาปานกลางและระยะ เวลายาว คนต่างประเทศที่อยู่ในข่ายบุคคลดังต่อไปนี้ จะไม่ได้รับการออกบัตรไซริวการ์ด

  1. ผู้ที่ได้รับการกำหนดให้มีระยะเวลาพำนักอาศัยไม่เกิน “3 เดือน”
  2. ผู้ที่ได้รับการกำหนดให้ถือวีซ่าระยะสั้น
  3. ผู้ที่ได้รับการกำหนดให้ถือวีซ่าการทูตหรือราชการ
  4. ผู้ที่กฏหมายกระทรวงยุติธรรมกำหนดให้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าคนต่างประเทศที่ อยู่ในข้อ (1) ถึงข้อ (3)
  5. ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยถาวรเป็นกรณีพิเศษ (จะได้รับการออก”เอกสารรับรองการเป็นผู้ พำนักอาศัยถาวรกรณีพิเศษ)
  6. ผู้ที่ไม่มีวีซ่า

กรณีที่เข้ามาประเทศญี่ปุ่นด้วยวีซ่า“พำนักอาศัยระยะสั้น”, แม้ว่าจะได้รับการต่อวีซ่าให้พำนักได้อีกเกินกว่า 3 เดือน ก็จะไม่ได้รับการออกบัตรพำนักอาศัย (ไซริวการ์ด)

Q: ในกรณีที่ย้ายไปอยู่ที่เขตเทศบาลหรือท้องถิ่นอื่น หรือย้ายไปอยู่ที่ต่างประเทศ จะต้องดำเนินการอย่างไร

A: ก่อนอื่นต้องยื่น “แจ้งย้ายออก”ล่วงหน้าที่ที่ว่าการเขตตำบลหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ปัจจุบัน และ หลังจากนั้น, เมื่อย้ายเข้าไปอยู่ที่อยู่ใหม่แล้ว ก็จะต้องยื่น “แจ้งย้ายเข้า” ต่อที่ว่าการเขตที่อยู่ใหม่ ภายใน 14 วัน การดำเนินการนี้, ต้องนำบัตรพำนักอาศัย (ไซริวการ์ด), หรือบัตรรับรองการเป็นผู้ พำนักอาศัยถาวรกรณีพิเศษ พร้อมกับ “ใบรับรองการแจ้งย้ายออก” ไปยื่นด้วย ถึงแม้จะเป็นเขต เทศบาลเดียวกันก็ตาม, เมื่อย้ายเข้าไปอยู่ที่อยู่ใหม่แล้ว, ก็จะต้องยื่น “แจ้งการย้ายที่อยู่”ภายใน 14 วันด้วย นอกจากนี้, การที่จะย้ายออกไปอยู่ต่างประเทศ ก็ต้องยื่น, “แจ้งย้ายออก” แต่ในกรณีนี้, จะไม่ มีการออก “ใบรับรองการแจ้งย้ายออก” ให้ ดังนั้น จะกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นใหม่ได้ด้วย re-entryวีซ่า, และเมื่อมีที่พำนักเป็นหลักฐานแล้ว, ก็จะต้องนำพาสปอร์ต และไซริวการ์ด, ไปทำระเบียบการ แจ้งย้ายเข้าภายใน 14 วันเช่นกัน ถ้าไม่ดำเนินการยื่นเอกสารแจ้งย้ายที่จำเป็นดังกล่าว, อาจเป็นไปได้ว่าจะถูกลงโทษหรือถูก พิจารณายกเลิกวีซ่าพำนักอาศัยนั้น

สัญชาติและการสมรส

Q: ต้องการทราบระเบียบการของการแต่งงานในประเทศญี่ปุ่นระหว่างคนญี่ปุ่นกับคนต่างประเทศ

A:

[ รูปแบบของการสมรส ]
กรณีที่คนญี่ปุ่นและคนต่างประเทศแต่งงานในประเทศญี่ปุ่น, จะแต่งงานด้วยวิธีการแบบญี่ปุ่นซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัย หลักฐานที่จำเป็นต้องยื่นทางฝ่ายคนญี่ปุ่นคือ ใบสำเนาสำมะโนครัวญี่ปุ่น, ส่วนฝ่าย คนต่างประเทศจะต้องใช้พาสปอร์ตของเจ้าตัว, “หนังสือรับรองคุณสมบัติในการสมรส (คอนอินโยเค็นกุบิโชเมโชะ)” เป็นต้น เนื่องจากประเทศที่เป็นภูมิลำเนาแต่ละประเทศกำหนดเอกสารสำคัญที่จะยื่นแตกต่างกัน, จึงควรสอบถามที่ช่องติดต่อเกี่ยวกับสำมะโนครัวของสำนักงานเขตเทศบาลหรืออำเภอที่จะยื่นคำร้องขอทำการ

[ ผลทางกฏหมายของการสมรส ]
การสมรสที่ยื่นคำร้องขอทำการในประเทศญี่ปุ่นถือว่ามีผลทางกฏหมายอย่างเป็นทางการในประเทศญี่ปุ่น, แต่อาจจะไม่เป็นที่ยอมรับว่ามีผลทางกฏหมายในประเทศที่เป็นภูมิลำเนาของคู่สมรสคนต่างประเทศดังนั้น ควรจะต้องยืนยันให้แน่ชัดกับทางสถานทูต, หรือสถานกงสุลที่ประจำอยู่ ในประเทศญี่ปุ่น

[ หนังสือรับรองคุณสมบัติในการสมรส ]
คอนอินโยเค็นกุบิโชเมโชะ คือเอกสารที่หน่วยงานรัฐบาลของประเทศภูมิลำเนาให้การรับรองว่าคนต่างประเทศผู้นี้มีคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามเงื่อนไขของการสมรสที่ระบุไว้ในกฏหมายของประเทศนั้นๆ โดยทั่วไปแล้ว สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลที่ประจำอยู่ในประเทศญี่ปุ่นจะเป็นผู้ออกหนังสือนี้ให้ กรณีที่หนังสือรับรองคุณสมบัติในการสมรสนั้นเขียนเป็นภาษาต่างชาติ ก็จะต้องแนบฉบับแปลภาษาญี่ปุ่นมาด้วย บางประเทศอาจจะไม่ออกหนังสือรับรองคุณ สมบัติในการสมรสนี้ให้ ดังนั้นจะต้องนำเอกสารที่เท่าเทียมมายื่นแทน

Q: ต้องการทราบระเบียบการของการแต่งงานระหว่างคนต่างประเทศด้วยกันในประเทศญี่ปุ่น

A:

[ วิธีทำการสมรสแบบญี่ปุ่น ]
ในกรณีของการแต่งงานระหว่างคนต่างประเทศด้วยกัน, สามารถปฏิบัติตามกฏหมายของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นสถานที่ที่แต่งงาน, โดยยื่นใบทะเบียนสมรสได้ที่แผนกสำมะโนครัว

[ หนังสือรับรองคุณสมบัติในการสมรส (คอนอินโยเค็นกุบิโชเมโชะ) ]
เป็นต้น, จากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลที่ประจำอยู่ในประเทศญี่ปุ่น และต้องแนบเอกสารแปลฉบับภาษาญี่ปุ่นตอนยื่นด้วย เมื่อสำนักงานเทศบาลเและเขตอำเภอรับมอบใบทะเบียนสมรสนั้น ก็ถือว่าการสมรสนี้มีผลอย่างเป็นทางการตามกฏหมายภายใต้กฏหมายญี่ปุ่น, ถ้า แต่ทางประเทศภูมิลำเนาของทั้งสองจะยอมรับว่ามีผลหรือไม่นั้น ก็จะต้องติดต่อสอบถามทางสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลที่ประจำอยู่ในประเทศญี่ปุ่น

[ วิธีการสมรสแบบประเทศภูมิลำเนา ]
เป็นการสมรสด้วยวิธีการตามกฏหมายที่มีร่วมกันของคนต่างประเทศ, หรือตามวิธีที่กฏหมายของประเทศภูมิลำเนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวก็ได้ แต่ก็มีสถานกงสุลของบางประเทศ, ไม่รับมอบทะเบียนสมรส, ดังนั้นจึงควรต้องติดต่อสอบถามล่วงหน้า

Q: ต้องการทราบขั้นตอนที่คนญี่ปุ่นแต่งงานกับชาวต่างชาติที่ต่างประเทศ

A: ขั้นตอนการที่คนญี่ปุ่นแต่งงานกับชาวต่างชาติที่ประเทศของคู่สมรส หรือประเทศที่สามนั้น มี 2 กรณีข้างล่างนี้

[ ปฎิบัติตามขั้นตอนของประเทศของคู่สมรส, ประเทศที่ทำการสมรส ]
ยื่นใบทะเบียนสมรสตามขั้นตอนของประเทศของคู่สมรสหรือประเทศที่ทำการสมรส ทั้งสองฝ่ายจะต้องเตรียมเอกสารที่จำเป็นให้ครบตามที่ประเทศนั้นกำหนดไว้ หลังจากทำการจดทะเบียนสมรสแล้ว เพื่อเป็นการแจ้งการจดทะเบียนสมรสนี้ให้ทางอำเภอที่ญี่ปุ่นทราบ จะต้องยื่นใบทะเบียนสมรสที่สถานทูตญี่ปุ่น หรือส่งโดยตรงไป ที่สำนักทะเบียนเขต/ท้องถิ่นในภูมิลำเนาของคู่สมรสคนญี่ปุ่น การปฎิบัติตามขั้นตอนนี้ จะต้องยื่นแจ้งภายใน 3 เดือนหลังจากทำการสมรสเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่ใบทะเบียนสมรสนั้นเขียนไว้ด้วยภาษาต่างชาติ จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นด้วย

[ ปฎิบัติตามขั้นตอนของญี่ปุ่น ]
วิธีส่งเอกสารที่จำเป็น ทางไปรษณีย์โดยตรงไปยัง ณ ที่ว่าการอำเภอในภูมิลำเนาของคู่สมรสคนญี่ปุ่น เอกสารที่จำเป็นนี้เหมือนกันกับเอกสารที่คนต่างชาติแต่งงานกับคนญี่ปุ่นที่ประเทศญี่ปุ่น

[ “หนังสือรับรองคุณสมบัติการสมรส (คนอิงโยเค็งกุบิโชวเมโช)” ของคู่สมรสคนญี่ปุ่น ]
สามารถออกให้ได้จากสำนักงานด้านกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลญี่ปุ่นประจำประเทศนั้น โดยใช้ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นฉบับย่อ (โคะเสคิโชวฮอง) เป็นหลักฐาน

ตรวจสอบรายละเอียดได้จาก โฮมเพจของกระทรวงยุติธรรม, กรมการทางแพ่ง

Q: ทั้งสามีและภรรยาเป็นชาวต่างชาติโดยมีสัญชาติต่างกัน ได้พำนักอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลานาน ขั้นตอนการหย่าจะขึ้นอยู่กับกฏหมายประเทศใด

A: [ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณี] เนื่องจากไม่มีกฏหมายที่มีผลบังคับเช่นเดียวกับกฏหมายในประเทศของตน สำหรับชาวต่างชาติที่มีสัญชาติต่างกัน ดังนั้นจะใช้ (1) ใช้กฏหมายของประเทศที่มีการพำนักอยู่ร่วมกัน หรือ (2) กรณีที่ไม่มีกฎหมายเหล่านั้น ก็จะใช้กฏหมายของประเทศที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นกฎหมาย เป็นกฎหมายบังคับแก่กรณีแทน ในกรณีนี้ เมื่อพิจารณาแล้วว่าทั้งสองฝ่ายพำนักอยู่ในญี่ปุ่น จะใช้กฏหมายของประเทศญี่ปุ่นเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณี กรุณาตรวจสอบกับสถานทูตหรือสถานกงสุลที่ประจำอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ของแต่ละประเทศของตน

Q: หลังจากหย่าแล้วสถานภาพการพัก (วีซ่า) ของชาวต่างชาติจะเป็นอย่างไร

A: สำหรับผู้ที่พำนักอยู่ระยะกลางหรือระยะยาวในฐานะคู่สมรส และถือวีซ่า “ติดตามครอบครัว”, “ผู้ประกอบกิจกรรมพิเศษ”, “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น” และ “คู่สมรสของผู้ถือวีซ่าถาวรอื่น ๆ” ได้ทำการหย่ากับคู่สมรส หรือคู่สมรสเสียชีวิตจำเป็นจะต้องแจ้งให้กองตรวจคนเข้าเมืองทราบภายใน 14 วัน

[ หย่ากับคู่สมรสคนญี่ปุ่น ]
การหย่าร้างกับคู่สมรสคนญี่ปุ่น จะสูญเสียวีซ่า “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น” นั้นไป ตามเอกสารของกองตรวจคนเข้าเมืองในปีค.ศ. 1996 นั้น ผู้ที่ดูแลบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ซึ่งกำเนิดกับคู่สมรสคนญี่ปุ่นนั้น มีโอกาสที่จะได้รับการเปลี่ยนวีซ่าเป็น “ผู้อาศัยแบบระยะยาว”

[ การหย่ากับคู่สมรสที่ทั้งสองฝ่ายเป็นชาวต่างชาติ ]
หากคู่สมรสถือวีซ่า “คู่สมรสของผู้ถือวีซ่าถาวร” เพราะคู่สมรสชาวต่างชาติเป็นผู้ถือวีซ่าถาวร หรือหากถือวีซ่า “ติดตามครอบครัว” เพราะคู่สมรสชาวต่างชาติที่ทำงานหรือเป็นนักศึกษาต่างประเทศ ฯลฯ นั้น เมื่อทำการหย่าจะสูญเสียวีซ่านั้นไป

กรณีที่เป็นคู่สมรสถือวีซ่า “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น”, “คู่สมรสของผู้ถือวีซ่าถาวร” แต่ไม่ทำหน้าที่ของการเป็นคู่สมรสมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร จะเข้าอยู่ในขอบเขตที่จะถูก “เพิกถอนวีซ่า” ด้วย

Q: คนต่างประเทศแต่งงานกับชาวญี่ปุ่น มีถิ่นฐานพำนักอาศัยอยู่ในญี่ปุ่น แต่ต้องการหย่า ในกรณี นี้จะสามารถเรียกร้องค่าทำขวัญและขอให้มีการแบ่งทรัพย์สมบัติได้หรือไม่

A: เรื่องค่าทำขวัญและการแบ่งทรัพย์สมบัติ, ถ้าเจรจาตกลงกันได้เรียบร้อยตอนหย่า, ก็สามารถทำหนังสือรับรองเรื่องต่างๆที่ตกลงกันไว้นั้นให้เป็นทางการได้

[ ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณี ]
ถ้าเจรจากันแล้ว แต่ไม่อาจจะตกลงกันได้, ก็จะต้องแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการทางกฏหมาย, เรื่องค่าทำขวัญและการแบ่งทรัพย์สินจากการหย่า โดยทั่วไปแล้วจะใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ แก่กรณี เช่นเดียวกันกับการหย่า กรณีการหย่าระหว่างสามีภรรยาที่เป็นคนญี่ปุ่นและคนต่างประเทศที่พำนักอาศัย ประจำอยู่ในญี่ปุ่น, กฏหมายของประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีในการไกล่เกลี่ยที่ศาลครอบครัว, หรือการฟ้องศาล ตัดสินปัญหาเรื่องค่าทำขวัญและการแบ่งทรัพย์สมบัติ เงินค่าทำขวัญจะมากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับจำนวนปีของระยะเวลาที่แต่งงานใช้ร่วมชีวิตกัน, สาเหตุของการหย่า, และความสามารถในการจ่ายเงินของคู่กรณี ฯลฯ ทรัพย์สมบัติที่เข้าข่ายจะต้องนำมาแบ่งกันในกรณีหย่าจะหมายถึงสินสมรสคือทรัพย์สมบัติที่สามีภรรยาสร้างขึ้นมาร่วมกันหลังแต่งงาน นอกจากนี้, ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2007 เป็นต้นมาสามารถเรียกร้องให้มีการแบ่งเงินบำนาญกองทุนหลังเกษียณของคู่สมรสที่ทำไว้ในช่วงระยะเวลาของการสมรสได้อีกด้วย

Q: บุตรที่เกิดในประเทศญี่ปุ่นและมีบิดามารดาเป็นชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติจะมีสัญชาติ การแจ้งเกิด และนามสกุล อย่างไร

A:

[ สัญชาติ ]
การได้สัญชาติของบุตร, ถูกกำหนดโดยระบบ 2 อย่างคือ ระบบยึดสายโลหิตเป็นหลัก กับระบบยึด สถานที่เกิดเป็นหลัก ญี่ปุ่นใช้ระบบแบบยึดสายโลหิตทั้งทางบิดาและมารดาเป็นหลัก, ถ้าบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถือสัญชาติของประเทศนั้น บุตรก็จะได้สืบทอดสัญชาตินั้น หรือบางกรณีก็อาจจะได้ถือสองสัญชาติ, ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับกฏหมายสัญชาติของประเทศของบุพการีอีกฝ่ายหนึ่ง

[ การแจ้งเกิด ]
กรณีที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น, จะต้องแจ้งเกิดที่สำนักงานเทศบาลเขตหรืออำเภอภายใน 14 วันนับจากวันคลอด ถ้าต้องการให้บุตรได้รับสัญชาติของคู่สมรสที่เป็นคนต่างประเทศ, จะต้องแจ้งเกิดที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลที่ประจำอยู่ในประเทศญี่ปุ่นด้วย เมื่อแจ้งเกิดแล้ว จะได้รับการทำใบทะเบียน ราษฎร์ให้

[ นามสกุล ]
เนื่องจากบุตรจะต้องเข้าสำมะโนครัวหรือทะเบียนบ้านของบุพการีที่เป็นคนญี่ปุ่น, ดังนั้นก็จะต้องใช้นามสกุลเดียวกับบุพการีชาวญี่ปุ่น และยังมีวิธีให้บุตรใช้นามสกุลของคู่สมรสคนต่างประเทศอีกด้วย

Q: กรณีที่ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมีความต้องการทำพินัยกรรม จะต้องทำในรูปแบบไหน และจะต้องดำเนินการตามกฏหมายของประเทศใด

A:

[ รูปแบบของพินัยกรรม ]
“สนธิสัญญาเกี่ยวกับการละเมิดกฏหมายรูปแบบของพินัยกรรม” บัญญัติขึ้นในปี ค.ศ. 1961 ซึ่งประเทศญี่ปุ่นให้สัตยาบันกับกฏหมายนี้ด้วย ดังนั้นจึงมีการบัญญัติ “กฎหมายที่เกี่ยวกับกฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีของรูปแบบของพินัยกรรม” ขึ้น ตามกำหนดของกฎหมายนี้ ถ้าเข้าอยู่ในขอบข่ายของข้อใดข้อหนึ่ง ข้างล่างนี้จะถือว่าเป็นพินัยกรรมที่มีผลสมบูรณ์

  1. กระทำตามกฎหมายท้องถิ่นที่ทำพินัยกรรมบัญญัติไว้
  2. กระทำตามกฎหมายของประเทศที่ผู้ทำพินัยกรรมมีสัญชาติขณะที่ทำพินัยกรรม หรือขณะที่เสียชีวิต
  3. กระทำตามกฎหมายของท้องถิ่นที่ผู้ทำพินัยกรรมมีชื่อในทะเบียนที่อยู่ขณะที่ทำพินัยกรรม หรือขณะที่เสียชีวิต
  4. กระทำตามกฎหมายของท้องถิ่นที่ผู้ทำพินัยกรรมพำนักอยู่เป็นประจำขณะที่ทำพินัยกรรม หรือขณะที่เสียชีวิต
  5. เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอสังหาริมทรัพย์ กระทำตามกฎหมายของท้องถิ่นที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่

กรณีที่พำนักอาศัยอยูในประเทศญี่ปุ่น ทำพินัยกรรมที่ญี่ปุ่น สามารถใช้กฎหมายแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นกฎหมายท้องถิ่นที่ทำพินัยกรรมได้ ตามปกติพินัยกรรมที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีดังนี้ “พินัยกรรมแบบเขียนเอง”, “พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง”, “พินัยกรรมแบบเอกสารลับ” การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง จะทำขึ้นกับเจ้าหน้าที่ทะเบียนของสำนักงานทะเบียน (โคโชนินยะคุบะ)

อนึ่ง เกี่ยวกับพินัยกรรมแบบเขียนเองนั้น ส่วนมากจะเก็บรักษาเองที่บ้าน ตั้งแต่วันที่ 10 เดือนกรกฎาคม ปีค.ศ. 2020 เป็นต้นไปได้เริ่มใช้ “กฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บรักษาพินัยกรรมโดยสำนักงานนิติการ” ว่าให้ สามารถนำเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานนิติการได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันต่อการสูญหาย ความเสี่ยงต่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงของพินัยกรรม ซึ่งยังไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องต่อศาลครอบครัวเพื่อการอนุมัติรับรองอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีข้อดีคือ ค่าธรรมเนียมจะถูกกว่าการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง

Q: กรณีที่ชาวต่างชาติและครอบครัวที่พำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลานาน มีความต้องการ จะเปลี่ยนเป็นสัญชาติญี่ปุ่นนั้น จะสามารถทำได้ไหม และจะไปปรึกษาหรือดำเนินเรื่องได้ที่ไหน

A: ชาวต่างชาติสามารถได้รับสัญชาติญี่ปุ่นโดยการเปลี่ยนหรือโอนสัญชาติ ซึ่งมีกำหนดเงื่อนไขตามกฏหมาย สัญชาติดังต่อไปนี้

[ เงื่อนไขทางภูมิลำเนา ]
มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศญี่ปุ่นต่อเนื่องมากกว่า 5 ปีขึ้นไป

[ เงื่อนไขความสามารถ ]
มีอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป (บรรลุนิติภาวะแล้ว) และเป็นผู้มีความสามารถตามกฎหมาย ของประเทศตัวเอง

[ เงื่อนไขทางพฤติกรรม ]
มีความประพฤติที่ดี

[ เงื่อนไขตามสภาพความเป็นอยู่ ]
สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยรายได้ของตนเอง หรือจากรายได้ของคู่สมรส หรือ จากที่อื่นๆ เช่น จากมรดกของญาติหรือจากทักษะความชำนาญ

[ เงื่อนไขในการสูญเสียสัญชาติ ]
อยู่ในสถานะไร้สัญชาติ หรือต้องสละสัญชาติเดิมเพื่อการขอรับสัญชาติญี่ปุ่น

[ เงื่อนไขตามแนวความคิด ]
ไม่มีแนวความคิดรุนแรงที่จะลบล้างทำลายรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลบัญญัติขึ้นโดยพละกำลังหรือเป็นสมาชิกของกลุ่มสมาคมองค์กรดังกล่าว

(การผ่อนปรนเงื่อนไข)
กรณีที่มีสถานภาพที่เกี่ยวข้องกับคนญี่ปุ่น เช่น เป็นคู่สมรสของคนญี่ปุ่นหรือ เกิดที่ญี่ปุ่นเป็นต้น หรือมีความเกี่ยวข้องผูกพันกับท้องถิ่นของญี่ปุ่น จะได้รับการผ่อนปรนเงื่อนไขในการเปลี่ยนสัญชาติ

เมื่อได้รับการยอมรับในการเปลี่ยนสัญชาติแล้ว สามารถขึ้นทะเบียนครอบครัวใหม่ได้

ปรึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนสัญชาติและทำการยื่นคำร้องได้ที่ สำนักงานด้านกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม (โฮมุเคียวคุ)

การแพทย์และสวัสดิการสังคม

Q: ต้องการเข้าประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้องการทราบว่าชาวต่างประเทศจะสามารถเข้าประกันได้หรือไม่

A:

[ เงื่อนไขการเข้าประกันสุขภาพแห่งชาติ ]
เป็นบุคคลที่ไม่เข้าข่ายกรณีต่อไปนี้

  1. บุคคลที่เข้าประกันสุขภาพประเภทอื่นของทางราชการอยู่แล้ว
  2. บุคคลที่ได้รับเงินคุ้มครองการครองชีพอยู่
  3. บุคคลที่ไม่ได้ถือสัญชาติญี่ปุ่น (กฏการบังคับใช้การประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา 1 ข้อ 2)
  • บุคคลที่ไม่มีวีซ่า
  • ผู้ที่ไม่ได้ลงใบทะเบียนพำนักอาศัย (ถึงแม้จะได้รับวีซ่าให้พำนักอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน ถ้าเป็นผู้ที่มีสถานภาพ การพำนัก “การแสดง”, “ทักษะความชำนาญ”, “อาศัยอยู่กับครอบครัว”, “กิจกรรมพิเศษ” โดยพิจารณาจากข้อมูลต่างๆโดยคร่าวแล้วว่าคงจะได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลานานเกิน 3 เดือน จะสามารถเข้าประกันนี้ได้)
  • ผู้ที่มีสถานภาพการพำนัก “กิจกรรมพิเศษ” และพำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล ตลอดจนผู้ที่ดูแลบุคคลที่เข้ารับการรักษาพยาบาล
  • บุคคลที่เป็นพลเมืองของประเทศที่มีการทำสนธิสัญญาข้อตกลงร่วมกันกับประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับการประกันสังคมซึ่งรวมถึงการประกันการแพทย์ และมีหนังสือรับรองการเข้าประกันสังคมจากรัฐบาลของประเทศตน

อนึ่ง, กรณีที่ถือวีซ่า “ราชการ”, ถึงแม้จะมีสถานภาพการพำนักอาศัยในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลานานเกิน 3 เดือน, ก็จะไม่ได้รับลงใบทะเบียนพำนักอาศัย แต่จะสามารถใช้ประกันสุขภาพแห่งชาติได้

Q: เบี้ยประกันของประกันสุขภาพแห่งชาตินั้นสูงมากไม่สามารถชำระได้ ควรจะทำอย่างไรดี

A: กรณีที่ไม่สามารถชำระได้ให้ปรึกษากับ ที่ปรึกษาแผนกประกันสุขภาพแห่งชาติของที่ว่าการอำเภอ กรณีที่มีเหตุผลพิเศษอันสมควรตามบทบัญญัติหรือกฏระเบียบการ อาจจะขอรับส่วนลดค่าเบี้ยประกันหรือขอรับการผ่อนผันเลื่อนเวลาในการจ่ายค่าเบี้ยประกันได้

Q: พำนักอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นระยะยาว กรณีที่เจ็บป่วยในระหว่างที่กลับไปประเทศของตนชั่วคราว ประกันสุขภาพแห่งชาติจะช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลให้หรือไม่

A: สามารถใช้ประกันสุขภาพแห่งชาติเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลที่ต่างประเทศได้ แต่กรณีดังกล่าวข้างล่างนี้จะไม่ได้รับการยอมรับ

  1. การรักษาพยาบาลที่ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถใช้ประกันสุขภาพได้
  2. จุดประสงค์ที่ไปต่างประเทศเพื่อการรักษาพยาบาลโดยเฉพาะ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่แผนกประกันสุขภาพแห่งชาติ ณ ที่ว่าการอำเภอ

Q: กังวลใจว่าได้ติดเชื้อเอดส์ ต้องการทราบว่าจะสามารถตรวจเช็คร่างกายได้ที่ไหน

A: เนื่องจากปกติร่างกายต้องจะใช้เวลานาน 6 – 8 อาทิตย์ในการสร้างปฎิกิริยาตอบสนอง (Antibody) ต่อเชื้อไวรัส HIV ซึ่งเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อเอดส์ ดังนั้น ควรไปตรวจเช็คร่างกายอย่างน้อย 3 เดือนหลังจากช่วงเวลาที่มีความเป็นไปได้ว่าได้ติดเชื้อเอดส์แล้ว ถ้าไปตรวจเช็คที่สถานีอนามัย (โฮะเค็นโจ) จะสามารถใช้นามแฝงได้และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

  • แผนกมาตรการควบคุมทางการแพทย์กรุ๊ปโรคติดต่อแห่งจังหวัดโอซาก้า: 06-6944-9156
  • คลีนิคสมาร์ทไลฟ์ chotCAST: 06-4708-5035

Q: สงสัยว่าอาจจะเป็นโรคซึมเศร้า ต้องการพบแพทย์แผนกจิตเวช

A: เมื่อไม่ชินต่อการใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่น หรือจากเหตุผลต่างๆทำให้ขาดความสมดุลย์ทางจิตใจ เมื่อมีความ ประสงค์ที่จะเข้ารักษาที่สถาบันการแพทย์ สามารถปรึกษาได้ที่องค์กรดังกล่าวข้างล่างนี้ (ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก)

หรือสามารถค้นหาได้จากเวปไซต์ ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาลสำหรับชาวต่างชาติแห่งจังหวัดโอซาก้า

Q: เนื่องจากยาที่ใช้ประจำอยู่ในประเทศของตน ไม่สามารถหาได้ในญี่ปุ่น การส่งยามาจากประเทศ ตัวเอง ควรต้องระวังในเรื่องอะไรบ้าง

A: กรณีที่จะนำพัสดุทางการแพทย์เข้ามา โดยจุดประสงค์ใช้เป็นการส่วนตัวนั้น อาจมีขั้นตอนที่จำเป็นจะต้อง ดำเนินการ กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
กระทรวงสาธารณสุขและแรงงานกรมสาธารณสุขเขตคิงคิ: 06-6942-2241 (สายหลัก)

Q: ต้องการทราบรายชื่อประเทศที่มีสนธิสัญญาประกันสังคมร่วมกับญี่ปุ่น

A: จุดประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันการทำประกันซ้อน และเพื่อการคำนวนระยะเวลาในการจ่ายเบี้ยประกัน ญี่ปุ่นได้ทำสนธิสัญญาประกันสังคมร่วมกับหลายประเทศ ข้อมูลของสนธิสัญญาแต่ละประเทศแตกต่างกัน กรุณาดู ข้อมูลล่าสุดได้ที่ โฮมเพจของ กระทรวงสาธารณสุขและแรงงานกรมสาธารณสุข

Q: ต้องการนำบุตรเข้าฝากสถานรับเลี้ยงเด็กเพราะต้องการทำงาน

A: สถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นสถานที่ให้บริการสวัสดิการเด็ก สังกัดอยู่กับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นสถานที่ให้บริการสำหรับเด็กที่ผู้ปกครองมีเหตุผลว่าต้องทำงาน ฯลฯ ไม่สามารถดูแลเด็กได้ ซึ่งรับดูแลเป็นระยะเวลา ยาว ให้บริการแก่เด็กตั้งแต่ 0 ขวบถึงเด็กก่อนเข้าโรงเรียนประถม รูปแบบสถานรับเลี้ยงเด็ก ปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. สถานรับเลี้ยงเด็กที่ได้รับการรับรอง
    คือ สถานรับเลี้ยงเด็กที่หมู่บ้าน, อำเภอ หรือหน่วยบริหารงานท้องถิ่นได้ รับรองว่ามีเงื่อนไขครบตามกฎหมายสวัสดิการเด็ก ค่าธรรมเนียมก็จะแตกต่างกันโดยคำนวณจากรายได้ของผู้ปกครองและท้องถิ่นที่อาศัย และจากอายุของเด็ก
  2. สถานรับเลี้ยงเด็กที่นอกเหนือจากการรับรอง
    คือ สถานรับเลี้ยงเด็กที่ไม่ได้การรับรองเช่น เบบี้โฮเต็ล สถาน รับดูแลเด็กเป็นต้น ค่าธรรมเนียมของแต่ละสถานรับเลี้ยงเด็กจะแตกต่างกันไป

การเข้าสถานรับเลี้ยงเด็กประเภท (1) ที่ได้รับการรับรอง ผู้ปกครองจะต้องมีเหตุผลว่าต้องทำงาน (มีกำหนดทำงาน) ไม่สามารถที่จะดูแลเด็กได้ ฯลฯ ยื่นเรื่องได้ที่แผนกที่รับผิดชอบ ณ ที่ว่าการอำเภอ ส่วนการเข้าสถานรับเลี้ยงเด็กประเภท (2) ที่ไม่ได้รับการรับรองนั้น สมัครได้ที่สถานรับเลี้ยงเด็กแต่ละที่ โดยตรง

Q: มารดาผู้เป็นคนต่างประเทศได้หย่าขาดกับสามี เลี้ยงดูบุตรด้วยตัวเองที่ญี่ปุ่นแต่มีความขัดสนในการใช้ชีวิต ต้องการความช่วยเหลือ

A: ถ้าเลี้ยงดูบุตรที่แท้จริงที่เกิดกับคนญี่ปุ่น หลังจากการหย่าแล้วมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะได้รับวีซ่าเป็น “สถานภาพพำนักอาศัยระยะยาว (Long Term Resident)” ถ้าอยู่ในข่ายนี้ก็จะได้รับการพิจารณาในแง่สวัสดิการ มารดาและบุตร และสามารถได้รับการช่วยเหลือทางด้านการชีวิตความเป็นอยู่

  1. เงินสงเคราะห์สำหรับบุตร (ไม่จำกัดเฉพาะครอบครัวที่มีบิดาหรือมารดาเพืยงคนเดียวเท่านั้น)
    ผู้ที่มีคุณสมบัติได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงสำหรับเด็กนี้ ถึงแม้เป็นคนต่างประเทศที่ลงใบทะเบียนพำนักอาศัย และมีภาระเลี้ยงดูเด็กที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงนี้ และการได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงนั้นมีเงื่อนไขจำกัดรายได้ของผู้มีสิทธิ์รับ เงินเบี้ยเลี้ยงด้วย สถานที่ยื่นคำร้อง: แผนกสงเคราะห์เด็ก เทศบาลเขตอำเภอตำบลและหมู่บ้าน
  2. เงินสงเคราะห์อนุเคราะห์บุตร
    บุคคลที่จะรับเงินสงเคราะห์อนุเคราะห์บุตรนี้ได้คือ มารดาหรือบิดาที่ปกป้องดูแลเด็กหรือผู้เยาว์ที่อายุจนถึงวันแรกของ 31 มีนาคม หลังอายุครบ 18 ปี (ถ้าทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้, อายุไม่ถึง 20 ปี) หรือบุคคลที่ดูแลเลี้ยงดูเด็กหรือผู้เยาว์แทนบิดามารดา (มีข้อแม้ว่าจะต้องอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันกับเด็กหรือผู้เยาว์ และปกป้องดูแลรวมทั้งครองชีพอยู่ร่วมกัน) การได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงนั้นมีเงื่อนไขข้อจำกัดเรื่องรายได้ด้วย กรุณาตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ โฮมเพจของแผนกสงเคราะห์แห่งจังหวัดโอซาก้า

สถานที่ยื่นคำร้อง: แผนกสงเคราะห์เด็ก เทศบาลเขตอำเภอตำบลและหมู่บ้านในภูมิลำเนา

ส่วนระบบอื่นๆ กรุณาตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ ข้อมูลต่างๆที่ทางแผนกสงเคราะห์เด็กแห่งโอซาก้าเสนอสำหรับ “ครอบครัวที่มีบิดาหรือมารดาเพืยงคนเดียวเท่านั้น

Q: คนต่างประเทศ, อยู่ในข่ายที่จะได้รับการคุ้มครองการครองชีพหรือไม่

A: กฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองการครองชีพมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองพลเมืองญี่ปุ่น ดังนั้นจึงไม่อาจใช้กฏหมาย คุ้มครองการใช้ชีวิตต่อบุคคลที่ไม่มีสัญชาติญี่ปุ่น (ต่อไปจะใช้คำว่า “คนต่างประเทศ”) แต่ถ้าเป็นคนต่างประเทศที่มี คุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด ที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่นและมีชีวิตที่ยากจน ทางการจะให้การคุ้มครอง โดยใช้ มาตรการทางการปกครองอนุโลมใช้กฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองการครองชีพ กรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ แผนกลงใบทะเบียนพำนักอาศัยของเทศบาลเขตอำเภอตำบลและหมู่บ้านที่ลงทะเบียนพำนักอาศัยอยู่

แรงงานและการทำงาน

Q: ชาวต่างชาติต้องการหางานทำ จะมีวิธีการหางานอย่างไรบ้าง

A: สามารถขอคำแนะนำเกี่ยวกับงานได้ที่หน่วยงานดังกล่าวข้างล่างนี้

★ ฮัลโลเวอร์คในจังหวัดโอซาก้าที่มีบริการล่ามภาษาต่างประเทศ ช่องบริการจัดหางานแก่ชาวต่างชาติ

  1. ศูนย์บริการจัดหางานแก่ชาวต่างชาติโอซาก้า
    ที่อยู่ : ตึกฮังคิวแกรนบิรุ ชั้น16 8-47 คะคุดะ-โจว, คิตะ-คุ, โอซาก้า-ชิ 
    โทรศัพท์: 06-7709-9465
  2. ฮัลโลเวอร์คแห่งเทศบาลสาไก 
    ที่อยู่ : สาไกฮิกาชิเอคิมาเอะโชวชะ (สำนักงานเขตหน้าสถานีสาไกฮิกาชิ) มิยุคิโดโอริ59, มิคุนิกะโอคะ, สาไก-คุ, สาไก-ชิ
    โทรศัพท์: 072-238-8301

Q: ดิฉันเป็นพนักงานพาร์ทไทม์ ดิฉันแจ้งกับเจ้านายว่าขอลาพัก เพราะมีกิจกรรมที่โรงเรียนของลูก แต่ได้รับคำตอบว่าการเป็นพนักงานพาร์ทไทม์ ไม่มีการขอลาพัก อยากทราบว่าระบบแรงงานของญี่ปุ่นเป็นเช่นนั้นหรือ?

A: กรณีที่เป็นคนงานที่ทำงานมานานเป็นระยะเวลาหนึ่ง นายจ้างต้องกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปี (ลาพักผ่อน) ให้แก่ลูกจ้างตามจำนวนของเดือนที่ทำงาน การลาพักผ่อน คือ สิทธิ์ของผู้ทำงานที่ทำงานติดต่อกัน 6 เดือนและมาทำงานมากกว่า 80% ของจำนวนวันทำงานที่ถูกกำหนด ผู้ที่เข้าข่ายเงื่อนไขดังกล่าวนี้ จะมีสิทธิ์ได้รับวันลาพักผ่อนตามจำนวน “วัน” หรือจำนวน “ชั่วโมง” ที่ทำงานต่อ 1 สัปดาห์ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่พนักงานประจำเท่านั้น ยังรวมถึงพนักงานนอกเวลาที่ทำงานเป็นกะ และพนักงานพาร์ทไทม์ด้วย ดังนั้น การขอลาพักผ่อน หากลูกจ้างต้องการขอลาพักจะต้องแจ้งล่วงหน้าก่อน 1 วันก็จะสามารถใช้วันลาได้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม นายจ้างมีสิทธิ์ขอให้เปลี่ยนแปลงวันได้ ถ้าการขอลาพักนี้ทำให้เกิดการขัดข้องในการดำเนินธุรกิจตามปกติ แต่จะไม่ได้รับการยอมรับถ้าเป็นเหตุผลเพียงแค่ “เพราะงานยุ่ง”

Q: ได้รับแจ้งโดยกะทันหันว่า ตั้งแต่เดือนหน้าเงินเดือนจะลดลง จำเป็นต้องยอมรับเท่านั้นใช่ไหม?

A: เงื่อนไขในการทำงาน เช่น เงินเดือนและจำนวนชั่วโมงของการทำงาน ฯลฯ ทั้งสัญญาจ้างงานและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับการทำงานนี้ ต้องเป็นไปตามข้อตกลงในการทำงานร่วมกันระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงาน โดยมีหลักการว่า ต้องทำการตกลงโดยนายจ้างและลูกจ้างทั้งสองฝ่ายอยู่ในสถานะเท่าเทียมกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนใขในการทำงานนั้น ยกเว้นในกรณีพิเศษ ตามข้อตกลงต้องได้รับความยินยอมจากนายจ้างและลูกจ้างด้วย ดังนั้น เมื่อไม่ได้รับความยินยอมของลูกจ้าง นายจ้างไม่สามารถลดเงินเดือนได้ ตามดุลยพินิจของนายจ้างเพียงผู้เดียว นายจ้างจำเป็นต้องอธิบายให้ลูกจ้างเข้าใจอย่างมีเหตุผลว่าเพราะอะไรจึงต้องลดเงินเดือน

Q: ทางสถานที่ทำงานไม่จ่ายค่าจ้างแรงงานให้ จะทำอย่างไรดี

A: กำหนดวันจ่ายประจำที่แน่นอนในแต่ละเดือนไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ในกรณีที่ไม่จ่ายค่าแรงงานให้, ก็สามารถปรึกษา กับสำนักงานควบคุมมาตรฐานแรงงาน ที่ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมดูแลพื้นที่ที่ทางบริษัทหรือที่ทำงานตั้งอยู่
นอกจากนี้, ถ้านัดเวลาล่วงหน้ากับ สำนักงานแรงงานมวลรวมจังหวัดโอซาก้า แล้วสามารถรับการปรึกษา ด้วยภาษาอังกฤษ·ภาษาจีน ส่วนกรณีที่ไม่จ่ายค่าจ้างเพราะบริษัทล้มละลาย, ตามกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองการจ่ายค่าจ้าง, ผู้ใช้แรงงาน สามารถได้รับประกันค่าแรง, ด้วย “ระบบจ่ายชดเชยเงินค่าจ้างค้างจ่าย” สามารถปรึกษาเกี่ยวกับการจ่ายชดเชยเงินค่าจ้างค้างจ่ายนี้ได้ ที่สำนักงานควบคุมมาตรฐานแรงงานซึ่ง สังกัดอยู่ที่เขตพื้นที่นั้น

Q: ทำสัญญาระยะเวลาการจ้าง 1 ปีกับบริษัท แต่เมื่อยื่นความประสงค์ที่จะลาออกก่อนหมดสัญญาเนื่องด้วยเหตุผลส่วนตัว จึงถูกตัดเงินเดือนส่วนหนึ่งเพราะเป็นการละเมิดสัญญา ไม่สามารถยอมรับได้

A: กรณีที่ทำสัญญาภายใต้เงื่อนไข กำหนดระยะเวลาการว่าจ้าง และถ้าไม่เป็นเหตุผลที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จะ ไม่สามารถลาออกจากงานได้ก่อนหมดสัญญา และจำเป็นจะต้องอธิบายเหตุผลให้ผู้จ้างเข้าใจ เกี่ยวกับการชำระบัญชีเงินเดือนนั้นขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ว่า “ไม่ทำงาน·ไม่จ่ายเงิน” ช่วงระยะที่ไม่ทำงานก็จะไม่ได้รับการจ่ายเงินเดือน แต่ตามกฏหมายมาตรฐานแรงงานนั้น ได้ออกกฏข้อบังคับ “เกี่ยวกับการผิดสัญญาการว่าจ้าง ห้ามมิให้กำหนดการปรับเงิน หรือทำสัญญาวางแผนกำหนดให้จ่ายค่าชดเชยความเสียหาย” ดังนั้น หากในสัญญามีข้อความดังกล่าวไว้แต่แรกเริ่มทำสัญญา จะถือว่าสัญญานั้นผิดกฏหมาย กรุณาปรึกษาได้ที่ ช่องปรึกษาแรงงานแก่ชาวต่างชาติ

Q: ผมทำงานอยู่ในโรงงาน มีเพื่อนร่วมงานจากประเทศเดียวกัน 4 คน โดยมีหัวหน้ากรุ๊ปเป็นคนญี่ปุ่น วันนี้ หัวหน้ากรุ๊ปมาบอกว่า “ต้องการให้ลาออก” ผมจำเป็นต้องลาออกตามที่หัวหน้าบอกหรือไม่?

A: การลาออกมีรูปแบบดังนี้ (1) ด้วยความสมัครใจของตนเอง แล้วแจ้งให้นายจ้างรับทราบว่าต้องการลาออก (ลาออก) (2) นายจ้างมาบอกว่า “ต้องการให้ลาออก” (เลิกจ้างหรือแนะนำให้ลาออก) (3) ถูกนายจ้างลงโทษและเลิกจ้าง (ไล่ออกเนื่องจากมีความผิด) เป็นต้น กรณีของคุณ เรามาพิจารณากันว่าอยู่ในหัวข้อใด

  • หากเจ้านายมาพูดในลักษณะล้อเล่นว่า “ต้องการให้ลาออก” คงมีความเป็นไปได้น้อยที่นายจ้างจะดำเนินการตามที่พูดอย่างเป็นทางการ ดังนั้น แม้นายจ้างมาบอกว่า “ต้องการให้ลาออก” ก็ไม่จำเป็นต้องลาออกตามที่บอกนั้น
  • หากทำงานผิดพลาดติดต่อกันบ่อย ๆ แล้วเจ้านายมาบอกว่า “ต้องการให้ลาออก” คงมีความเป็นไปได้ที่นายจ้างจะดำเนินการตามที่พูดอย่างเป็นทางการว่า “ต้องการให้ลาออก” การดำเนินการของนายจ้างในกรณีนี้ เป็นการโน้มนำให้ลูกจ้างลาออกจึงเรียกว่า “แนะนำให้ลาออก” การแนะนำให้ลาออกนี้ เพียงเป็นการเสนอให้ลาออกเท่านั้น การที่จะลาออกหรือไม่นั้นจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของตนเอง โดยหลักการแล้ว หากไม่ได้รับการยินยอมจากลูกจ้าง นายจ้างก็ไม่สามารถทำการยกเลิกสัญญาจ้างงานโดยพลการได้
  • การที่เจ้านายมาบอกว่า “ต้องการให้ลาออก” เนื่องจากก่อปัญหาใหญ่ขึ้น ก็เข้าข่ายแจ้ง “ไล่ออกเนื่องจากมีความผิด” หากก่อปัญหาที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเจ็บปวด เช่น ใช้คำหยาบคาย ทำร้ายร่างกาย ทำการล่วงละเมิดต่าง ๆ หรือทำให้นายจ้างลดความเชื่อถือ ก่อการกระทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการทำงานหรือเป็นเรื่องส่วนตัวก็ตาม ตามกฎแล้วนายจ้างมีสิทธิ์ที่จะทำการลงโทษได้ (ไล่ออกเนื่องจากมีความผิด) ข้อบังคับในการทำงานมีการระบุอย่างชัดเจนว่า เมื่อทำผิดแบบไหนแล้วจะถูกลงโทษอย่างไร การที่ถูกเลิกจ้างจากนายจ้างเช่นนี้ เรียกว่า การไล่ออกเนื่องจากมีความผิด ในกรณีนี้ ข้อสำคัญที่ควรพิจารณาคือ ต้องเทียบเหตุผลที่ถูกไล่ออกกับข้อบังคับในการทำงาน หากไม่เห็นพ้องกับเหตุผลของการถูกไล่ออก หรือถูกไล่ออกโดยไม่ตรงกับกฎข้อบังคับในการทำงาน ลูกจ้างควรขอให้นายจ้างทำการเพิกถอนการไล่ออกนี้

Q: ผมทำงานเป็นผู้ฝึกงานด้านเทคนิค ในเดือนมกราคมทำงานตั้งแต่ 9.00 น. ถึง 20.00 น. แทบทุกวัน ในเดือนกุมภาพันธ์งานไม่ค่อยยุ่งมากนัก ในวันธรรมดาทำงานตั้งแต่ 9.00 น. และเลิกงานเวลา 18.00 น. แต่เงินเดือนของเดือนมกราคมและของเดือนกุมภาพันธ์นั้นเท่ากัน ผมไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินล่วงเวลาหรือ?

A: จำนวนชั่วโมงของการทำงานที่นายจ้างเป็นผู้กำหนด เรียกว่า “เวลาทำงาน” เมื่อยกเว้นเวลาพัก ตามหลักการไม่เกิน สัปดาห์ละ 40 ชั่วโมงหรือไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมงนั้น เรียกว่า “จำนวนชั่วโมงของการทำงานตามกฎหมาย” หากทำงานเกินกว่าที่กำหนดนี้ ถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลา สามารถรับค่าแรงงานเพิ่มได้ (เงินล่วงเวลา) และนายจ้างต้องให้ “วันหยุดตามกฎหมาย” แก่ลูกจ้างสัปดาห์ละ 1 วัน หรือ4วันใน 4 สัปดาห์ ในกรณีที่ทำงานในวันหยุดก็จะได้รับเงินล่วงเวลาเช่นกัน กฎหมายได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการคำนวนอัตราค่าเงินล่วงเวลานี้ไว้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ฝึกงานด้านเทคนิคก็ตามก็จะมีผลเช่นเดียวกัน เพียงแต่ให้ระวังไว้ว่า กฎระเบียบนี้จะไม่มีผลบังคับกับการเกษตร การปศุสัตว์และการประมง

Q: ลูกจ้างชาวต่างชาติถูกคุกคามทางเพศในสถานที่ทำงาน เกิดความอึดอัดลำบากใจในการที่ถูก เจ้านายคนญี่ปุ่นพูดจาลวนลามทางเพศแก่ตน มีวิธีแก้ไขได้อย่างไรบ้าง

A: ตามกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมโอกาสและการจ้างงานอย่างเสมอภาคระหว่างเพศชายและหญิง มาตรา 11 กำหนดว่า หากผู้จ้างมีประพฤติทางกายและวาจาที่เกี่ยวข้องทางเพศต่อลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงานในที่ทำงาน และ จากการที่ลูกจ้างอยู่ภายใต้เงื่อนไขการทำงานนี้ ทำให้ลูกจ้างเสียประโยชน์ และเพื่อไม่ให้การถูกคุกคามทางเพศนี้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานของลูกจ้าง เจ้าของธุรกิจหรือผู้จ้างต้องดำเนินการจัดการดูแล ควบคุมใน สิ่งจำเป็นเหมาะสม ลูกจ้างที่ถูกคุกคามทางเพศนี้สามารถร้องทุกข์ต่อผู้จ้างให้ทำการแก้ไขได้ หรือถ้าที่ทำงานมี สหภาพแรงงาน ก็สามารถปรึกษากับสหภาพแรงงานได้เช่นกัน ทางสำนักงานแรงงานทั่วไปโอซาก้ารับปรึกษา ทางโทรศัพท์เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศโดยเฉพาะ (โทรศัพท์: 06-6946-2601สายนี้เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศโดยเฉพาะ)

Q: สถานที่ทำงานล้มละลาย หมดหนทางที่จะมีรายได้เข้ามา จะสามารถได้รับเงินประกันทดแทน การตกงานหรือไม่

A: เงินทดแทนการตกงานของการประกันการจ้างงานหมายถึง กรณีที่ผู้ทำประกันเกิดล้มละลาย, ถูกปลดออกจากงาน, มีเหตุผลส่วนตัว, เกษียณอายุ ฯลฯซึ่งทำให้ต้องออกจากงาน, และไม่สามารถเข้าทำงานได้ทั้งๆที่มีความ ต้องการ และมีความสามารถที่จะทำงาน, เงินทดแทนการตกงานนี้จะจ่ายให้ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อคุ้มครองความมั่นคงของ การใช้ชีวิตไปจนกว่าจะหางานใหม่ได้, และเป็นการจ่ายเพื่อให้หางานใหม่ ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผู้ทำประกันที่ ต้องออกจากงานโดยไม่มีทางเลือกเนื่องจากการล้มละลาย, หรือการถูกปลดออกจากงานจะถือว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติ ได้เงินทดแทนเฉพาะพิเศษ สำหรับผู้มีคุณสมบัติได้เงินทดแทนเฉพาะพิเศษและผู้ที่ต้องออกจากงานเนื่องด้วยสาเหตุเฉพาะพิเศษ (หมายถึงบุคคลที่ออกจากงานเพราะทำงานครบตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างงานซึ่งมีกฏ ข้อบังคับเกี่ยวกับระยะเวลา, แต่ไม่ได้รับการต่อสัญญา รวมทั้งบุคคลที่มีเหตุผลอันสมควร), จะได้รับเงินทดแทนการตกงานนี้โดยมีเงื่อนไขว่า ภายในเวลา 1 ปีก่อนวันที่ออกจากงาน, และที่มีจำนวนวันซึ่งเป็นพื้นฐานหลักของการจ่ายเงินค่าจ้างไม่น้อยกว่า 11 วัน และได้เข้าประกันเป็นจำนวนมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ดำเนินระเบียบ การขอรับเงินทดแทนการตกงาน (ชิสึทฺเกียวคิวฟุ) ได้ที่ศูนย์ฮัลโหลเวิร์ค ที่ใกล้เคียง

Q: ขณะนี้ทำงานชั่วคราวอยู่ จะสามารถเข้าประกันสังคมได้หรือไม่

A: การที่จะเข้าประกันสังคมของผู้ที่ทำงานแบบพาร์ทไทม์/ทำงานแบบชั่วคราวนั้น จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดดังกล่าวข้างล่างนี้

  1. ชั่วโมงทำงานใน 1 สัปดาห์หรือจำนวนวันที่ทำงานต่อเดือนมีมากกว่า 3 ส่วน 4 ขึ้นไป ของพนักงานประจำที่ทำงานแบบเดียวกัน ในสถานที่ทำงานเดียวกัน
  2. ผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดที่ 1 แต่มีคุณสมบัติตาม “ข้อกำหนดสำหรับผู้ทำงานในระยะสั้น” ดังกล่าวทั้งหมดข้างล่างนี้
  • มีชั่วโมงการทำงานมากกว่า 20 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์
  • ระยะเวลาทำงาน หรือมีกำหนดว่าจะทำงาน 1 ปีขึ้นไป
  • มีค่าจ้างรายเดือนมากกว่า 88,000 เยนขึ้นไป
  • ไม่ใช่นักเรียนนักศึกษา
  • ทำงานกับบริษัท ที่มีพนักงานมากกว่า 501 คน

Q: ขณะนี้ป่วยและไม่สามารถทำงานต่อได้ และมีปัญหาทางเศรษฐกิจเพราะไม่ได้รับเงินเดือนระหว่างที่หยุดงาน

A: เนื่องจากการพักรักษาตัว กรณีป่วยหรือได้รับบาดเจ็บนอกเวลางาน กรณีที่ลาหยุดงาน จะได้รับ “เงินช่วยเหลือการบาดเจ็บและป่วย” จากประกันสุขภาพ หลังจากที่หยุดงาน 3 วันติดต่อกัน (ระยะเวลารอคอย) จะเริ่มจ่ายให้ในวันที่ 4 นับจากวันที่ไม่มีงานทำ เนื่องจากป่วยหรือบาดเจ็บจึงต้องหยุดพักรักษาตัว ระยะเวลารอคอยนี้ รวมวันหยุดพักร้อน, วันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดราชการด้วย จำนวนเงินขั้นต่ำที่จะได้รับก็คือ “2 ส่วน 3 ของเงินเดือนมาตรฐาน โดยนำเงินเดือนของ 12 เดือนก่อนที่หยุดงานในแต่ละเดือนนั้น มาเฉลี่ยเป็นเงินเดือนมาตรฐานแล้วหารด้วย 30 วัน (เบี้ยเลี้ยงการบาดเจ็บและป่วยรายวัน)”

คดีความและอุบัติเหตุ

Q: เป็นผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางยานยนต์และเข้าโรงพยาบาลอยู่ จะสามารถเรียกร้อง ค่าเสียหายอย่างไรได้บ้าง

A: เงินค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเหล่านี้จะได้รับจากระบบประกันภัยพรบ ซึ่งเป็นการ ประกันภัยภาคบังคับตามกฏหมาย (จิไบเสคิโฮเค็ง) และจากระบบการประกันภัยส่วนบุคคล (นิงอิโฮ เค็ง) ซึ่งทางผู้เอาประกันหรือผู้ก่อเหตุเป็นผู้ทำประกันภัย จิไบเสคิโฮเค็งจะใช้ได้แต่ในกรณีที่เกิด ความเสียหายต่อร่างกายและชีวิตคนเท่านั้น และการประกันประเภทนี้มีข้อจำกัดทางด้านจำนวน เงินที่จ่ายให้ผู้เสียหาย (อย่างเช่น ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวน1,200,000 เยน ต่อผู้เสียหาย 1 คน) ถ้าค่าเสียหายมีมูลค่าสูงกว่านี้ ส่วนต่างที่เกินมานั้นก็จะได้รับจากการประกันภัยนิงอิโฮเค็ง

ถ้าเป็นกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ก่อเหตุเป็นใคร หรือผู้ก่อเหตุไม่ได้เข้าประกันภัยจิไบเสคิโฮเค็ง และไม่มี ความสามารถที่จะทดแทนความเสียหายได้ ก็สามารถได้รับเงินชดเชยจาก “งานบริการค้ำประกันของรัฐบาล” สามารถได้รับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในระดับเดียวกับประกันภัยจิไบเสคิโฮเค็ง หากไม่เข้าใจเรื่องการร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากบริษัทประกัน สามารถปรึกษาได้ที่ช่องรับปรึกษาอุบัติเหตุยานยนต์ แต่โดยหลักการแล้วจะรับปรึกษาเป็นภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น ควรนำล่ามไปด้วย

นอกจากนี้ การปรึกษาด้านกฎหมายสำหรับคนต่างชาติกับสมาคมสภาทนายความจังหวัดโอซาก้านั้น หากทนายความที่รับผิดชอบเรื่องคดีอุบัติเหตุจราจรเป็นผู้รับคำปรึกษาแล้ว ภายใต้กรอบการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสำหรับคนต่างชาติ ก็จะสามารถใช้ล่ามประกอบในการปรึกษาได้ (โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับล่าม)

รายละเอียดเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสำหรับคนต่างชาติ โปรดตรวจสอบข้อมูล ตามเว็บไซต์ต่อไปนี้

  1. หน่วยรับปรึกษาอุบัติเหตุยานยนต์ของสมาคมสภาทนายความ
  2. ปรึกษาด้านกฎหมายสำหรับคนต่างชาติของสมาคมสภาทนายความ
  3. ศูนย์รับปรึกษาการเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันยานยนต์
  4. ศูนย์แก้ไขปัญหาความขัดแย้งจากอุบัติเหตุยานยนต์

Q: เป็นผู้ก่ออุบัติเหตุขณะที่ขี่รถจักรยาน และทำให้ผู้ถูกชนได้รับบาดเจ็บ ต้องการทราบว่าจะต้องมีความรับผิดชอบอย่างไร

A: ภายใต้กฎหมายการจราจร รถจักรยานก็ถือว่าเป็นยานพาหนะประเภทหนึ่ง ถึงแม้จะเป็น อุบัติเหตุของรถจักรยานก็ตาม จะต้องแจ้งตำรวจด้วย

ดังนั้นเมื่อก่ออุบัติเหตุและทำให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บหรือทำลายสิ่งของ ตามกฎหมายทาง แพ่ง ผู้ก่อจะต้องรับผิดชอบชดเชยต่อความเสียหายนั้น และถ้าอุบัติเหตุนั้นมีความรุนแรงมากอาจจะ ต้องรับผิดชอบทางอาญาด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมต่อความรับผิดชอบในการจ่าย ค่ารักษาพยาบาล, ค่าชดเชยในการหยุดงานและค่าปลอบขวัญต่างๆ ทางจังหวัดโอซาก้าได้กำหนด ข้อบัญญัติในการใช้รถจักรยานขึ้น กำหนดให้ผู้ใช้รถจักรยานมีหน้าที่ที่จะต้องทำประกันภัยจักรยาน

Q: ตอนที่ซื้อรถจักรยาน ทางร้านที่ขายรถจักรยานได้แนะนำให้ลงทะเบียนป้องกันขโมย จักรยาน จำเป็นต้องทำการลงทะเบียนหรือไม่

A: ตาม “กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการใช้รถจักรยานอย่างปลอดภัยและการส่งเสริมมาตรการ การจอดรถ” ได้กำหนดไว้ว่าผู้ที่ใช้รถจักรยานจะต้องทำการลงทะเบียนป้องกันขโมยจักรยานสำหรับ รถจักรยานที่ใช้อยู่ ดังนั้นทางร้านขายรถจักรยานจำเป็นจะต้องแนะนำให้ทำการลงทะเบียนป้องกัน ขโมยจักรยานด้วย

การลงทะเบียนป้องกันขโมยจักรยานนี้ จะมีผลช่วยป้องกันการถูกขโมย และเมื่อถูกขโมย ก็จะทำให้ตามหาได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ก็จะช่วยให้ไปรับรถจักรยานคืนได้อย่างราบรื่น เมื่อถูกทางเทศบาลยกไปเก็บในกรณีที่จอดรถในที่ที่ห้ามจอดด้วย

Q: สามีซึ่งเป็นชาวต่างชาติถูกตำรวจจับกุมกรณีทำร้ายร่างกาย จะสามารถเข้าเยี่ยมได้หรือไม่ และการสอบปากคำหลังจากถูกจับกุมจะเป็นอย่างไร

A: เมื่อถูกจับกุมตัว จะถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจนานอย่างมากที่สุด 72 ชั่วโมง หากถูก พิจารณาให้ถูกคุมขัง ก็จะถูกคุมขังนานอย่างมากที่สุด 20 วัน ในระยะเวลาดังกล่าวนี้ทางอัยการ จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรจะฟ้องศาลหรือไม่ ในช่วงที่ถูกคุมขังนั้น ทางตำรวจ หรืออัยการจะทำการสอบปากคำ และทำเอกสารคำให้การ เมื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการฟ้องศาลอย่างเป็นทางการ โดยหลักการแล้วก็จะถูกคุมขังต่อไป จนกระทั่งถึงวันขึ้นศาล ระหว่างนี้ ถ้าไม่มีการออกกฎห้ามผู้ใดเข้าเยี่ยม นอกเหนือจาก ทนายความแล้วคนอื่นๆก็จะสามารถเข้าเยี่ยมได้ แต่จะมีการให้เจ้าหน้าที่อยู่ร่วมสังเกตการณ์ขณะเข้าเยี่ยม และมีการจำกัดเวลาเข้าเยี่ยมด้วย

[ ใช้ระบบทนายความที่เข้าเวร ]
ถูกตำรวจจังหวัดโอซาก้าจับกุม, คุมขัง เป็นคดีที่ยังไม่ได้ดำเนินการฟ้องศาล ตามคำร้องขอของผู้ต้องสงสัย จะส่งทนายความอาสามาฟรีได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นสามารถขอให้ทนายความ ผู้นี้อธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆทางนิติบัญญัติ ซึ่งจะมีขึ้นหลังจากถูกจับกุม และอธิบายเกี่ยวกับเรื่องสิทธิในฐานะผู้ต้องสงสัย นอกจากนี้ ยังสามารถขอให้ช่วยติดต่อกับทางครอบครัวได้อีกด้วย ผู้ที่สามารถขอให้ส่งทนายความที่กำลังเข้าเวรอยู่ในหน้าที่ให้มาพบผู้ถูกจับกุมได้ คือ ครอบครัว คนรู้จักของผู้ถูกจับกุม หรือตัวผู้ถูกจับกุมเอง

Q: ทางสถาบันของรัฐต่างประเทศแจ้งว่าจำเป็นต้องใช้หนังสือรับรองว่าไม่มีประวัติ อาชญากรรม สามารถขอได้ที่ไหน

A: ที่เรียกว่า “หนังสือรับรองการเดินทาง” หรือ “หนังสือรับรองประวัติอาชญากรรม” นั้นใน กรณีที่มีทะเบียนพำนักอาศัยในจังหวัดโอซาก้า หรือปัจจุบันมีทะเบียนพำนักอาศัยที่ต่างประเทศ แต่มีการลงทะเบียนครั้งสุดท้ายในญี่ปุ่นที่จังหวัดโอซาก้า สามารถยื่นขอได้กับเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเดินทางไปต่างประเทศ แผนกพิสูจน์หลักฐาน กองบัญชาการตำรวจจังหวัดโอซาก้า (06-6943-1234) โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม จะต้องเตรียมเอกสารที่จำเป็นในการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงในการยื่นขอ (เอกสารที่ออกโดยองค์การต่างๆของรัฐ) และหนังสือเดินทาง ฯลฯ กรุณาติดต่อสอบถาม รายละเอียดก่อนล่วงหน้า และไม่สามารถมอบให้ผู้อื่นเป็นตัวแทนยื่นขอได้

Q: ผู้หญิงชาวต่างชาติมีปัญหาทุกข์ใจเรื่องถูกสามีทำร้ายร่างกาย จะขอความช่วยเหลือจากใครที่ไหนได้อย่างไร

A: ในกรณีที่ถูกคู่สมรสกระทำความรุนแรงทางร่างกาย หรือพฤติกรรมและคำพูดที่ก่อให้เกิด อันตรายแก่ร่างกาย จิตใจและ สุขภาพนั้น จะมีระบบช่วยเหลือรับแจ้ง รับปรึกษา คุ้มครอง และ สนับสนุนการพึ่งพาตนเอง ตาม ”พระราชบัญญัติการป้องกันและคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวจากคู่สมรส” (พระราชบัญญัติการป้องกันการกระทำDV) กฎหมายนี้บังคับใช้แม้ว่าผู้ถูกกระทำจะเป็นชาวต่างชาติก็ตาม คู่สมรสหมายความผู้ที่จดทะเบียนแต่งงานแล้ว อีกทั้งรวมถึงผู้ที่อยู่กินฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนด้วย

กฎหมายนี้ ยังบังคับใช้ทั้งกับคู่สมรสกรณีที่ถูกกระทำความรุนแรงในระหว่างการสมรสและกับ คู่สมรสเดิม กรณีที่ยังถูกกระทำด้วยความรุนแรงต่อไปอีกหลังจากการหย่าร้างหรือการสิ้นสุด ความสัมพันธ์แบบอยู่กินฉันสามีภรรยาแล้วด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายต่อชีวิต และร่างกาย เมื่อผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมาย ศาลจะสั่งให้ไม่ให้ คู่สมรส ซึ่งเป็นผู้กระทำความรุนแรงเข้าใกล้ผู้ถูกกระทำ หรือขับไล่ผู้กระทำความรุนแรงออกจาก บ้าน (คำสั่งคุ้มครอง)

มีช่องทางรับปรึกษาปัญหา หากมีความกังวลเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว สามารถปรึกษากับตำรวจได้อีกด้วย โดยทาง OFIX ด้ร่วมมือกับศูนย์ให้คำปรึกษาสตรีประจำจังหวัด โอซาก้า รับให้คำปรึกษาเป็นภาษาต่างประเทศด้วย

Q: ฉันถูกเพื่อนร่วมงานเฝ้าติดตามสะกดรอย จะปรึกษาได้ที่ไหน

A: ความรู้สึกรักหรือความปรารถนาดีอื่น ๆ ที่มีต่อคุณหรือเพื่อสนองความรู้สึกขุ่นเคืองที่ไม่ได้ผลตามความรู้สึกเหล่านั้น ทำให้กระทำการคุกคามเฝ้าติดตาม สอดส่องคุณหรือบุคคลใกล้ชิด และสืบ หาข้อมูลตำแหน่งของคุณ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคุณ พฤติกรรมการสะกดรอยตามนี้ อยู่ ภายใต้การควบคุมโดย “กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกเฝ้าติดตามสะกดรอย” (กฎหมายควบคุมป้องกันพฤติกรรมสตอล์คเกอร์)

หากคุณรู้สึกกังวลใจกับการถูกสะกดรอยตาม ควรปรึกษากับตำรวจ ตามคำขอของผู้ ร้องเรียน ตำรวจสามารถใช้มาตรการทางกฎหมาย เช่น ตักเตือนหรือสั่งห้ามให้อีกฝ่ายหยุดสะกด รอย นอกจากนี้ ยังสามารถใช้กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้ถูกเฝ้าติดตามสะกดรอย และกฎหมายหรือข้อบังคับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันการกระทำที่ไม่เหมาะสมโดยการจับกุมผู้กระทำความผิด และมีการคุ้มครองผู้ถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลด้วย

ศูนย์ให้คำปรึกษาสตรีประจำจังหวัดโอซาก้าก็รับคำปรึกษาจากผู้ที่ถูกสะกดรอยตาม

การศึกษา

Q: มีโครงการให้ลูกซึ่งกำลังเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 5 มาอยู่อาศัยด้วยที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่ทราบว่า มีโรงเรียนแบบไหนให้เลือกเข้าศึกษาได้บ้าง

A: โรงเรียนของเด็กที่มีสัญชาติต่างชาติที่มีให้เลือกมีดังต่อไปนี้คือ โรงเรียนรัฐในเขต, โรงเรียนเอกชน, โรงเรียน นานาชาติ, และโรงเรียนประจำเชื้อชาติ

[ การย้ายเข้าโรงเรียนรัฐในเขต ]
ถ้ามีความประสงค์จะเข้าโรงเรียนรัฐในเขต, จะต้องไปติดต่อเพื่อขอคำปรึกษา ที่แผนกธุรการศึกษา (กักคุจิขะ) ของสภาคณะกรรมการการศึกษาที่สำนักงานเทศบาลเขตและอำเภอ ซึ่งเป็นที่ทำการที่ได้ไปลงทะเบียนพำนักอาศัยไว้、ขอรับเอกสาร “คู่มือแนะนำการเข้าโรงเรียน” และ “ใบอนุญาตให้ย้าย เข้าศึกษา” หลังจากนั้น, ไปที่โรงเรียนในวันที่กำหนดให้ไป

[ การย้ายเข้าโรงเรียนเอกชน ]
ถ้ามีความประสงค์จะย้ายเข้าโรงเรียนเอกชน, จะต้องติดต่อสอบถามโดยตรงที่โรงเรียนที่ต้องการเข้า, เพราะแต่ละโรงเรียนจะมีระบบการรับเข้าเรียนที่แตกต่างกัน

[ โรงเรียนคนต่างประเทศ ]
โรงเรียนประเภทนี้จะสอนด้วยภาษาอังกฤษหรือภาษาแม่ มีทั้งโรงเรียนที่จดทะเบียน เป็นสถานศึกษาแบบนิติบุคคล และโรงเรียนที่ยังไม่ได้รับการรับรองวิทยฐานะ ส่วนมากจะถูกแยกอยู่ในประเภทโรงเรียนอาชีวศึกษา ถ้ามีความประสงค์จะย้ายเข้าโรงเรียนดังกล่าวนี้ก็จะต้องติดต่อสอบถามที่โรงเรียนนั้นๆโดยตรงว่ามีโควต้ารับเข้าหรือไม่

Q: นักเรียนที่ไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่นได้เลย ได้ทำการย้ายจากโรงเรียนมัธยมต้นในประเทศของตน มาเข้า โรงเรียนมัธยมต้นของรัฐในญี่ปุ่น ต้องการทราบว่ามีระบบการช่วยเหลือหรือไม่

A: ทางโรงเรียนประถมและมัธยมต้นในจังหวัดโอซาก้า ครูจะสอนภาษาญี่ปุ่นให้ และอาจจะมีการจัดล่ามหรือผู้ช่วยทาง การศึกษาให้ ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่สามารถสนทนากับครูเวลามาพบครูที่โรงเรียน ฯลฯ สามารถยื่นขอให้จัดล่ามให้ได้กรุณาสอบถามรายละเอียดได้จากครูของโรงเรียนที่เข้าศึกษาอยู่ และตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ข้อมูลสนับสนุนการใช้ชีวิตในโรงเรียนนานาภาษา

Q: ถึงแม้ลูกเข้าเรียนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐบาล ซึ่งไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน แต่ไม่สามารถจ่ายค่าอุปกรณ์การเรียนอื่น ๆ ได้

A: สำหรับผู้ปกครองที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจ ทำให้การเข้าเรียนของบุตรในโรงเรียนประถมศึกษา/มัธยมศึกษาตอนต้นนั้นยากลำบาก มีสวัสดิการช่วยเหลือการเล่าเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการศึกษาเท่าเทียมกัน ซึ่งจะสนับสนุนช่วยเหลือค่าใช้ จ่ายเกี่ยวกับค่าหนังสือ, ค่ากิจกรรมนอกสถานที่, ค่าทัศนศึกษาและค่าอาหารกลางวัน สวัสดิการนี้มีข้อจำกัดของรายได้ กรุณาปรึกษากับโรงเรียนที่บุตรเข้าเรียนอยู่ หรือปรึกษากับคณะกรรมการศึกษาธิการ

Q: เด็กสัญชาติต่างประเทศเพิ่งมาอยู่ที่ญี่ปุ่นได้ไม่นานและพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้เลย, จะสามารถ เข้าโรงเรียนมัธยมปลายของรัฐในเขตได้หรือไม่ และต้องสอบข้อสอบฉบับเดียวกับเด็ก นักเรียนญี่ปุ่นหรือไม่

A: การเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมปลายซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐในเขตจะต้องปฎิบัติตามระเบียบการที่มีการกำหนดไว้ ถ้าเป็นโรงเรียนสายสามัญ จะต้องสอบเข้าเหมือนเด็กนักเรียนญี่ปุ่นคนอื่น แต่ที่จังหวัดโอซาก้ามีการ “พิจารณา ผ่อนปรน” ให้แก่ผู้เข้าสอบที่ไม่ถนัดภาษาญี่ปุ่น เด็กนักเรียนที่อยู่ในข่ายที่ทางสภาคณะกรรมการการศึกษาแห่ง จังหวัดโอซาก้าได้ พิจารณาผ่อนปรน เกี่ยวกับการสอบเข้าโรงเรียนมัธยมปลายของรัฐในเขตนั้น โดย หลักการแล้ว จะต้องเป็นเด็กที่ย้ายเข้าเรียนหลังระดับชั้นประถมปีที่ ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ เนื้อหาของการ พิจารณาผ่อนปรน ได้แก่

  1. ต่อเวลาสอบให้
  2. อนุญาตให้นำพจนานุกรมเข้าใช้ในห้องสอบได้
  3. เขียนอักษรฮิรากานะกำกับให้ข้างบนประโยคคำถามในข้อสอบ

ข้อมูลเกี่ยวกับแนะแนวการศึกษาต่อ สามารถตรวจสอบได้ที่โฮมเพจ ข้อมูลสนับสนุนการใช้ชีวิตในโรงเรียนนานาภาษา นอกจากนี้ สามารถใช้บริการเข้ารับคำปรึกษา ฟังการบรรยายแนะแนวการศึกษาต่อโดยจัดเป็นภาษาต่างๆ ให้หลายครั้งในแต่ละปีด้วย ถ้าเด็กไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลย ก่อนอื่นสามารถเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น เพื่อจะได้มีทักษะความสามารถทาง ภาษาญี่ปุ่นสูงขึ้น

Q: มีโรงเรียนมัธยมปลายที่มีการกำหนดโควต้าพิเศษในการเข้าเรียนสำหรับเด็กที่เป็นชาวต่างชาติ หรือไม่

A: ในจังหวัดโอซาก้า ปัจจุบันมีโรงเรียนมัธยมปลายที่จัดให้มีการคัดเลือกให้เข้าเรียนสำหรับนักเรียนที่กลับมาจาก ประเทศจีนและนักเรียนต่างชาติ ผู้ที่จะสามารถสมัครได้คือ ผู้ที่กลับมาจากประเทศจีนหรือผู้ที่มีสัญชาติต่าง ประเทศ, โดยหลักการแล้ว จะต้องเป็นผู้ที่ย้ายเข้าเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมปีที่ 4 ขึ้นไป สามารถตรวจสอบได้ที่ โฮมเพจของแผนกธุรการศึกษาของคณะกรรมการการศึกษาแห่งจังหวัดโอซาก้า

Q: มีระบบทุนการศึกษาหรือไม่

A: สามารถตรวจสอบข้อมูลของทุนการศึกษา สำหรับเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย วิทยาลัยหรือโรงเรียนสายอาชีพ (หลักสูตอาชีพ) ทุนการศึกษาสำหรับเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมปลายหรือโรงเรียนสายอาชีพ (หลักสูตรมัธยมปลาย) ได้ที่ โฮมเพจของคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดโอซาก้าและบางสถานศึกษาที่จะศึกษาต่อนั้น อาจมีทุนการศึกษาที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นเอง

Q: ญาติพี่น้องที่อยู่ในประเทศของตนนั้น ต้องการมาศึกษาต่อมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่น ควรจะเริ่มดำเนิน ขั้นตอนอย่างไรบ้าง

A: ตรวจสอบข้อมูลได้จาก โฮมเพจของหน่วยงานอิสระของรัฐองค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเสนอข้อมูล เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการมาศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น

Q: ต้องการเรียนภาษาญี่ปุ่น แต่ต้องการหาสถานที่เรียนภาษาญี่ปุ่นที่ใกล้บ้าน

A: มีเวปไซต์เสนอข้อมูลค้นหาห้องเรียนภาษาญี่ปุ่นในจังหวัดโอซาก้า กรุณาใช้บริการนี้ได้จาก การรู้หนังสือโอซาก้า, ศูนย์ภาษาญี่ปุ่น (ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาอังกฤษ)

Q: ต้องการส่งบุตรเข้าเรียนโรงเรียนนานาชาติ มีโรงเรียนแบบไหนบ้าง

A: กรุณาค้นหาข้อมูลได้จาก โฮมเพจของคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดโอซาก้า

Q: ลูกเรียนที่โรงเรียนนานาชาติตั้งแต่ประถมจนถึงมัธยมปลาย จะสามารถเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยของ ญี่ปุ่นได้หรือไม่

A: โรงเรียนนานาชาติเป็น โรงเรียนที่ไม่ได้รับการยอมรับตามกฏหมายว่าด้วยการศึกษามาตรา 1 ส่วนมากจะถูกแยกอยู่ในประเภท “โรงเรียนอาชีวศึกษา” โรงเรียนที่มีคุณสมบัติสามารถเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยได้ กรุณาดูจาก โฮมเพจของกระทรวงศึกษาธิการและ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

การใช้ชีวิต

Q: ผู้ที่ทำงานประจำที่บริษัทจะต้องยื่นแบบแสดงภาษีรายได้ (คะคุเทชิงโคะคุ) ด้วยหรือ

A: กรณีที่มีรายได้อื่นนอกเหนือจากเงินเดือนเกิน 200,000 เยนขึ้นไป, หรือกรณีที่ได้รับเงินเดือนมากกว่า 200,000 เยน จากที่ทำงาน 2 แห่งขึ้นไป, กรณีที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 20 ล้านเยนขึ้นไป, และกรณีที่ได้รับการหักลดหย่อนภาษี เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลเป็นต้นไม่ว่าจะมีหรือไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายก็ตาม, จำเป็นจะต้องยื่นแบบแสดงภาษีรายได้

Q: ต้องการจะยื่นแบบแสดงภาษีรายได้ แต่มีกำหนดกลับประเทศก่อนสิ้นปี กรณีเช่นนี้ จะดำเนิน การยื่นแบบแสดงภาษีได้อย่างไร

A: กำหนดการยื่นแบบแสดงภาษีรายได้ จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่15 มีนาคมของทุกปี ในกรณีที่จะ กลับประเทศก่อนหน้านี้ ทำให้ไม่สามารถทำการยื่นแบบแสดงภาษีในวันที่กำหนดได้นั้น ให้ทำการมอบอำนาจให้ ผู้อื่นแทนจัดการเรื่องภาษีภายหลังจากที่กลับประเทศไปแล้ว ในกรณีที่ไม่ได้มอบอำนาจแก่ผู้แทน จะต้องมาดำเนินการก่อนล่วงหน้า “ยื่นแบบแสดงภาษีชั่วคราว” ณ สำนักงานสรรพากร กรุณาสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานสรรพากรที่ใกล้เคียง

Q: การชำระภาษีโรงเรือนของบุคคลธรรมดาให้แก่ทางจังหวัดจะต้องชำระอย่างไร

A: ภาษีโรงเรือนมี 2 ประเภทคือ “ภาษีโรงเรือนจังหวัด” และ “ภาษีโรงเรือนเขตเทศบาล” ในกรณีของคนต่างประเทศ ก็เช่นกัน หากเป็น “ผู้พำนักอาศัย”,ก็จะต้องชำระภาษีโรงเรือน การคำนวณเพื่อประเมินเงินภาษีที่ต้องชำระนั้นจะ พิจารณาจากสภาพการอยู่อาศัยจากวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น ถ้าไม่ใช่ผู้อาศัย, ตามหลักจะไม่ต้องชำระภาษี โรงเรือน, แต่ถ้ามีสถานที่ทำงานหรือมีบ้านอยู่ในเขตนั้น ก็จะชำระตามอัตราพื้นฐานคงที่ กรุณาติดต่อสอบถาม รายละเอียดที่ ช่องปรึกษาของเทศบาลเขตอำเภอตำบลและหมู่บ้านที่พำนักอาศัยอยู่นั้น กรณีที่เป็นพนักงานรับเงินเดือน ทางบริษัทหักค่าภาษีโรงเรือนส่วนบุคคลจากเงินเดือนที่จ่ายให้กับพนักงาน อีกทั้งยังมีระบบที่เป็นตัวแทนจ่ายภาษีให้กับเทศบาล ณ เขตที่พำนักอาศัยอยู่แทนพนักงาน

Q: ต้องการขับขี่รถจักรยานยนต์ แต่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่จากประเทศของตน

A: ในกรณีที่จะขอใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์สองล้อใหม่นั้น เนื่องจากชนิดของใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์สองล้อที่ ต้องการขับขี่แตกต่างกัน ขั้นตอนก็ต่างกัน กรุณาตรวจสอบรายละเอียดได้ท โฮมเพจของสำนักงานตำรวจแห่งจังหวัดโอซาก้า

Q: ใบอนุญาตขับขี่สากลจะมีอายุการใช้งานเท่าไร

A: ใบอนุญาตขับขี่สากล คือใบอนุญาตขับขี่ที่ประเทศเป็นภาคีในอนุสัญญาเจนีวา ออกให้อนุญาตให้ผู้ถือขับ รถยนต์ได้ ถือเป็นใบอนุญาตขับขี่ชนิดหนึ่ง สามารถสืบหารายชื่อประเทศที่ยอมรับใบอนุญาตขับขี่สากลได้ที่โฮม เพจของกรมตำรวจ

[ อายุการใช้งาน ]
เมื่อเข้ามาประเทศญี่ปุ่นภายใน 1 ปีนับจากวันที่เดินทางเข้ามา และในระหว่างที่ใบอนุญาตขับขี่สากลยังมีอายุการใช้งานอยู่นั้นจะสามารถใช้ได้ แต่ในกรณีของชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นและลงทะเบียนผู้พำนักในประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่น โดยพำนักอยู่ไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่เดินทางออกนอกประเทศ แล้วกลับเข้ามาประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการเข้ามาใหม่ (อายุการเดินทางที่เข้ามาอีกครั้ง) เพราะวันที่เดินทางกลับเข้ามาอีกครั้งนั้น จะมาเริ่มต้นคำนวนอายุการใช้ใบอนุญาตขับขี่อีกไม่ได้

Q: ซื้อรถยนต์มือสองแล้ว จะต้องดำเนินขั้นตอนอย่างไรบ้าง

A: หลังจากซื้อรถยนต์มือสองแล้ว ต้องทำการเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองกรรมสิทธ์เหมือนกับประกันรถยนต์ โดยการ “แจ้งโอน” การแจ้งโอนนั้น ทำได้ที่ กรมการขนส่งหรือสำนักงานตรวจสอบสภาพลงทะเบียนรถของภูมิลำเนาของผู้ ครอบครองกรรมสิทธ์ใหม่ ขั้นตอนการโอน การแจ้งย้ายรถนั้นจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าผู้ครอบครองกรรมสิทธ์เดิม กับผู้ครอบครองกรรมสิทธ์ใหม่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตท้องถิ่นเดียวกันหรือไม่ นอกจากนี้ ขั้นตอนการโอนรถเล็กประเภท K-CAR กรุณาติดต่อสอบถามที่สมาคมตรวจสอบสภาพรถ K-CAR

Q: ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าจากร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซี่งมีใบประกันคุณภาพ 1 ปี ถึงแม้จะใช้แบบปกติแต่เครื่องเกิดเสีย จึงนำไปซ่อม แล้วถูกเรียกเก็บค่าซ่อมแซม ควรจะทำอย่างไรดี

A: สามารถปรึกษาได้ที่ ศูนย์ให้บริการสำหรับผู้บริโภค ในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ กรุณาพาผู้ที่เข้าใจภาษาญี่ปุ่นไปด้วย เพราะไม่มีบริการภาษาต่างประเทศ ศูนย์ให้บริการสำหรับผู้บริโภคนี้ เป็นองค์การต่อสาธารณะชนที่รับการร้องทุกข์, ปรึกษาเกี่ยวกับสินค้า และการบริการให้กับผู้บริโภค

Q: ต้องการจ้างทนายความเพื่อฟ้องหย่าแต่ไม่มีเงิน มีองค์กรไหนจ่ายเงินค่าทนายให้ก่อนแล้วค่อยชำระคืนทีหลังหรือไม่

A: ในกรณีที่เป็นคดีเกี่ยวกับครอบครัว, และคดีแพ่ง เช่นการหย่าร้าง, สามารถใช้ “ระบบให้ความช่วยเหลือตามประมวลกฏหมาย” ได้ กรณีที่มีความขัดสนทางการเงิน, ไม่สามารถรับความช่วยเหลือจากศาลหรือความช่วยเหลือใน การจัดทำเอกสาร, สามารถใช้บริการของระบบนี้ จะช่วยให้สามารถรับคำปรึกษาทางกฏหมายโดยไม่เสียค่า ใช้จ่าย, หรือแนะนำ ทนายความและผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำเอกสารราชการ, หรือออกเงินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับศาล ให้ล่วงหน้าชั่วคราว แต่เนื่องจากการใช้บริการนี้มีการจำกัดทางด้านกำลังทรัพย์, ดังนั้นผู้ที่มีความจำนงขอรับ ความช่วยเหลือจะต้องยื่นเอกสารรับรองที่มีข้อความระบุชัดเจนเกี่ยวกับรายได้ของตน และ คนต่างประเทศที่ พำนักอยู่อย่างถูกต้องตามกฏหมายก็สามารถขอใช้บริการของระบบนี้ได้, โปรดติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือทางกฎหมายญี่ปุ่น (โฮเทระสึ)

Q: ต้องการปรึกษาปัญหาสิทธิมนุษยชน เนื่องจากถูกเหยียดหยามว่าเป็นคนต่างชาดี

A: ที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับชาวต่างชาติ มีบริการภาษาต่างประเทศ

  • สำนักงานยุติธรรมแห่งจังหวัดโอซาก้า: 0570-090911 (ภาษาอังกฤษ, จีน, เกาหลี, ฟิลิปปินส์, โปรตุเกส, เวียดนาม, เนปาล, สเปน, อินโดนีเซียและไทย)
  • สมาคมทนายความจังหวัดโอซาก้า: 06-6364-6251 วันศุกร์ที่2 และที่4 ในเวลา 12:00 – 17:00 น. (ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษาเกาหลี)

Q: จบการศึกษามหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่น เมื่อเอาใบปริญญากลับประเทศจำเป็นต้องมีตรารับรองว่าเป็นเอกสารถูกต้อง จะไปรับตราประทับรับรองได้ที่ไหน

A: เกี่ยวกับระเบียบการรับประทับตรานิติกรณ์ สามารถหาข้อมูลได้จากโฮมเพจของกระทรวงการต่างประเทศ

ที่อยู่อาศัย

Q: หลังจากหย่าแล้วจะอยู่กับลูกและพำนักอาศัยในญี่ปุ่นแบบระยะยาว แต่อาคารที่พักของเอกชนที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันมีค่าเช่าแพง ไม่อาจจะจ่ายได้ จึงต้องการจะเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารสงเคราะห์

A: อาคารสงเคราะห์ของทางจังหวัดเป็นอาคารให้เช่าสำหรับผู้มีรายได้ต่ำที่มีความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย, โดยองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ควบคุมดูแล คนต่างประเทศที่ลงทะเบียนผู้พำนักอาศัยแล้ว, สามารถสมัครขอเข้าอยู่ได้เช่นกันถ้ามีคุณสมบัติของผู้เข้าอยู่ครบตามเงื่อนไข สำหรับกรณีครอบครัวเดี่ยวที่มีเพียงแต่มารดาหรือ เพียงแต่บิดาและบุตร, มีโควต้ารับสมัครแบบพิเศษแยกต่างหากจากโควต้ารับสมัครทั่วไปให้อีกด้วย ถ้ามีจำกัดรายได้ตรงตามเงื่อนไขที่ระบุไว้และเป็นผู้ที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในจังหวัดโอซาก้าจะสามารถสมัครได้ในกรณีของครอบครัวที่มีบิดาหรือมารดาเลี้ยงเดี่ยว ตรงกับข้อใดข้อหนึ่งจากเงื่อนไข (1) ถึง (5) ดังกล่าวนี้ และก่อนวันสุดท้ายของระยะเวลาการรับสมัครนั้น ได้อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่อายุไม่ถึง 20 ปีอยู่ ก็สามารถสมัครโดยใช้โควต้า รับสมัครแบบ “สวัสดิการสงเคราะห์ครอบครัวเดี่ยว” ได้

  1. ผู้ที่เป็นม่ายเนื่องมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสียชีวิต/หย่าร้าง หรือเป็นบิดาหรือมารดาของบุตรนอกสมรส
  2. ผู้ที่คู่สมรสเป็นคนสาบสูญ มานานกว่าหนึ่งปี โดยไม่ทราบว่ายังชีวิตหรือเสียชีวิตไปแล้ว (กรณีที่ได้แจ้งความผู้สาบสูญกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ)
  3. ผู้ที่ถูกคู่สมรสละทิ้งเป็นเวลานานกว่าหนึ่งปี (กรณีที่แยกกันอยู่กับคู่สมรสเป็นเวลานานกว่าหนึ่งปีตามใบทะเบียนบ้าน)
  4. ครัวเรือนที่อยู่ในสถานการณ์คล้ายกับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว(เนื่องจากมีปัญหาจากความรุนแรงของคู่สมรส, ชีวิตสมรสล้มเหลวโดยพฤตินัยฯลฯ)
  5. เนื่องจากเหตุผลเช่นว่าคู่สมรสอยู่ต่างประเทศ ฯลฯ ไม่ได้รับการช่วยเหลือในการใช้ชีวิต

กรุณาตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ โฮมเพจของ องค์การเคหะแห่งจังหวัดโอซาก้า

Q: มาญี่ปุ่นทั้งสามีและภรรยา ทั้งคู่ทำงานพอมีรายได้บ้าง จึงไม่สามารถสมัครเข้าไปอยู่ในอาคารเคหะสงเคราะห์ของจังหวัด โอซาก้าได้ ยังมีอาคารเคหะสงเคราะห์อื่นอีกที่สามารถสมัครได้อีกหรือไม่

A: การเช่าอาคารเคหะสงเคราะห์ สำหรับผู้มีรายได้ระดับปานกลาง มีดังต่อไปนี้

[ บ้านเช่าของการเคหะ ]
บ้านเช่าของการเคหะแห่งชาตินี้บ้านเช่าของการเคหะนี้ เป็นบ้านเช่าที่อยู่ในความครอบครองขององค์การเคหะจังหวัดโอซาก้า คุณสมบัติในการสมัคร จะต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนผู้พำนักในประเทศญี่ปุ่นและมีรายได้ตามระดับมาตรฐาน
(สมัครได้ที่) องค์การเคหะจังหวัดโอซาก้า

[ บ้านเช่าพิเศษของการเคหะจังหวัดโอซาก้า ]
บ้านเช่าพิเศษของการเคหะนี้ เป็นบ้านเช่าสำหรับผู้ที่มีรายได้ภายในมาตรฐานที่กำหนดไว้แน่นอน และมีความเดือดร้อนเรื่องที่พักอาศัย ทางรัฐบาลและทางจังหวัดโอซาก้า มีการอนุเคราะห์ช่วยเหลือค่าเช่าส่วนหนึ่งให้ เพื่อเป็นการผ่อนเบาภาระค่าเช่า คุณสมบัติในการสมัคร จะต้องเป็นครอบครัวที่อาศัยอยู่ด้วยกัน มีรายได้สมดุลกับรายได้มาตรฐาน ชาวต่างชาติที่ทำการลงทะเบียนผู้พำนัก และมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไข สามารถสมัครได้
(สมัครได้ที่) องค์การเคหะจังหวัดโอซาก้า

[ องค์กรที่รวบรวมบ้านเช่า UR ]
หน่วยงานการพัฒนาและฟื้นฟูเมือง (องค์กรรวบรวมบ้านเช่า UR) เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการจัดหาบ้านเช่า สำหรับคนโสดและสำหรับครอบครัว เปิดรับสมัครเข้าอาศัยตามลำดับ เมื่อได้เข้าอาศัยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน แต่จะมีเงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้มาตรฐาน
(สมัครได้ที่) องค์กรที่รวบรวมบ้านเช่า UR

Q: นักเรียนต่างชาติที่หาที่พัก มีที่พักแบบไหนบ้าง

A: หอพักของนักเรียนต่างชาติ มีดังนี้

[ หอพักของนักเรียนต่างชาติ ]

นอกจากนี้ยังมีหอพักของแต่ละมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ กรุณาปรึกษากับฝ่ายกิจการนักเรียนของมหาวิทยาลัย

[ อาคารเคหะสงเคราะห์แห่งชาติ ]

ในกรณีที่มาญี่ปุ่นพร้อมครอบครัว และมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขในการสมัครเข้าอาศัยต่างๆนั้น สามารถสมัคร เข้าอาศัยกับอาคารเคหะสงเคราะห์ที่ทางจังหวัดหรือเทศบาลจัดไว้ได้

Q: ต้องการเช่าบ้านเช่าที่เป็นของเอกชน ทราบมาว่ามีเจ้าบ้านที่ไม่ต้องการให้คนต่างชาติเช่า จะหาที่อยู่ที่ยอมรับคนต่างชาติได้อย่างไร

A: จังหวัดโอซาก้ามี “ระบบลงทะเบียนบ้านเช่า โอซาก้า อันเซ็น (ปลอดภัย) -อันชิน (สบายใจ)” เพื่อให้คนต่างชาติและบุคคลที่มีปัญหาเรื่องการหาที่พักอาศัย ซึ่งมีบ้านเช่าเอกชนที่ยอมรับให้ผู้ที่ถูกปฏิเสธเหล่านั้นเข้าพักได้ลงทะเบียนอยู่ในจังหวัดโอซาก้า ฯลฯ สามารถค้นหาข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ของบ้านเช่าที่ลงทะเบียนไว้ได้จาก “ระบบค้นหาบ้านเช่าอันเซ็น-อันชิน” หรือ “ระบบเครือข่ายความปลอดภัยในการเสนอข้อมูลหาบ้านเช่า”

นอกจากนี้ ยังสามารถปรึกษากับ “บริษัทอสังหาริมทรัพย์และรับจัดหาบ้านเช่าที่พูดภาษาต่างประเทศได้” ที่โพสต์ลงบนเว็บไซต์ของสมาคมการจัดการบ้านให้เช่าของญี่ปุ่น

กรณีที่ยังหาที่พักไม่ได้ กรุณาติดต่อสอบถามกับจังหวัดโอซาก้าผ่านมูลนิธินานาชาติจังหวัดโอซาก้า (จะแนะนำ “หน่วยงานที่ช่วยเหลือเกี่ยวกับที่พักอาศัย” ซึ่งสนับสนุนการเข้าพักของคนต่างชาติเข้า ฯลฯ)
“หน่วยงานที่ช่วยเหลือที่พักอาศัย” คือกลุ่มหน่วยงานจัดขึ้นเพื่อเสนอข้อมูล, ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้ชีวิตแก่คนต่างชาติและผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหาที่อยู่อาศัย ที่ต้องการบ้านเช่าเอกชน

Q: จะทำสัญญาเช่ากับบ้านเช่าเอกชน แต่ถูกขอให้ชำระค่าสวัสดิการส่วนกลาง (เคียวเอคิฮิ), ค่าตอบแทน (เรคิน), ค่ามัดจำ (ชิคิคิน) และค่านายหน้า (จูไคเทซุเรียว) เพิ่มขึ้นอีก นอกเหนือจากค่าเช่า ที่ญี่ปุ่นการเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ เช่นนี้ ถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาหรือไม่?

A: ปกติแล้ว ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่าง ๆ ในการเช่าบ้านนี้ เป็นรูปแบบธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะของญี่ปุ่นโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเบื้องต้น และค่าต่อสัญญา (โควชินเรียว) นี้จะรู้สึกว่าสูงมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศแล้วตัวอย่างของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ควรเข้าใจมีดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดและการเข้าใจผิดควรสอบถามและรับฟังคำอธิบายอย่างถี่ถ้วน ก่อนที่จะลงนามทำสัญญาเช่า

[ ค่าบริการส่วนกลาง (เคียวเอคิฮิ) หรือค่าบริหารจัดการ (คันริฮิ) ]
เป็นค่าสวัสดิการ (ค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส) และค่าทำความสะอาดของพื้นที่ส่วนกลาง ค่าตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้นซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าเช่ารายเดือน ที่ต่างประเทศค่าสวัสดิการส่วนกลางแบบญี่ปุ่นนี้ส่วนใหญ่มักจะรวมอยู่ในค่าเช่าแล้ว

[ ค่าตอบแทน (เรคิน) ]
เป็นค่าตอบแทนแก่เจ้าของบ้านตอนทำสัญญาเช่า ในเขตคันโตมักกำหนดค่าตอบแทนนี้เป็นจำนวนเงินเทียบเท่าค่าเช่า 1-2 เดือนค่าตอบแทน (เรคิน)นี้จะไม่ได้รับคืน แต่ระยะหลังนี้ มีบ้านเช่าที่ไม่เรียกเก็บเงินค่าตอบแทน (เรคิน)

[ ค่านายหน้า (จูไค (ไบไค) เทซุเรียว) ]
เป็นค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับบริษัทอสังหาริมทรัพย์/บริษัทรับจัดหาบ้านเช่าซึ่งถูกกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกินค่าเช่าบ้าน 1 เดือน และค่านายหน้านี้จะไม่ได้รับคืน

[ ค่ามัดจำ (ค่าประกัน) ]
เป็นค่ามัดจำที่ให้ไว้กับเจ้าของบ้านตอนทำสัญญาเช่า เป็นจำนวน 1-2 เดือนของค่าเช่าบ้านเพื่อประกันในกรณีที่ผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่าบ้าน และเป็นเงินที่เตรียมไว้สำหรับการซ่อมแซมที่จำเป็นเวลาย้ายออกค่ามัดจำนี้จะถูกคำนวน แล้วคืนส่วนที่เหลือให้เวลาย้ายออกจากจำนวนเต็มของค่ามัดจำนี้ส่วนหนึ่งจะถือเป็น [ค่าเสื่อมราคา] และจะไม่ได้รับคืน

[ ค่าธรรมเนียมการต่อสัญญา (โควชินเรียว) ]
เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้เช่าจ่ายให้กับเจ้าของบ้าน ในกรณีที่จะต่อสัญญาเช่า และมีการระบุเงื่อนไขพิเศษ(ที่ตกลงกันระหว่างคู่สัญญา) อนึ่ง ตามปกติระยะเวลาของสัญญาคือ 2 ปี ค่าธรรมเนียมการต่อสัญญานี้จะไม่ได้รับคืน

*อาจมีการเรียกเก็บค่าประกันอัคคีภัยและเงินประกันค่าเช่าอื่น ๆ อีกด้ว

Q: เมื่อจะทำสัญญาเช่า มีการขอให้หาผู้ค้ำประกัน แต่ไม่มีคนรู้จักที่ญี่ปุ่นเลย จะทำอย่างไรดี?

A: ปัจจุบันนี้ มีการใช้บริการของบริษัทค้ำประกันค่าเช่าที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น แทนผู้ค้ำประกันส่วนบุคคล ซึ่งอาจมีบ้านเช่าที่กำหนดเงื่อนไขว่าต้องใช้บริการของบริษัทค้ำประกันค่าเช่าที่พักอาศัยนี้ บริษัทค้ำประกันค่าเช่าที่พักอาศัยจะเป็นผู้จ่ายค่าเช่าแทนให้กับเจ้าของบ้าน กรณีผู้เช่าอาศัยมีเหตุผลบางประการที่ไม่สามารถจ่ายค่าเช่าบ้านได้ กรณีที่จะใช้บริการของบริษัทค้ำประกันค่าเช่าที่พักอาศัยนี้ ผู้เช่าจะจ่ายค่าเบี้ยประกัน (ค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน) ให้กับทางบริษัท ค่าเบี้ยประกันของปีแรกเทียบเท่ากับค่าเช่าที่พักอาศัยครึ่งเดือน – 1เดือน หลังจากปีที่ 2เป็นต้นไปประมาณ 1 – 2หมื่นเยนต่อปี

Q: มีอะไรที่ควรระวังเป็นพิเศษ ในระหว่างที่อาศัยอยู่ที่บ้านเช่า?

A: กฎเกณฑ์ของการทิ้งขยะ และการส่งเสียงในชีวิตประจำวัน กฎเกณฑ์ของการทิ้งขยะจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเขตเทศบาลเช่นต้องแยกตามประเภท วันที่กำหนดให้ทิ้งขยะขึ้นอยู่กับประเภทของขยะก็จะแตกต่างกันบางเขตเทศบาลจะมีแผ่นพับอธิบายกฎเกณฑ์การทิ้งขยะเป็นภาษาต่างประเทศไว้ให้ ดังนั้นจึงควรไปขอมาเก็บไว้เพื่อจะได้ตรวจสอบได้ตลอดเวลา

นอกจากนี้ ตึกอพาร์ทเมนท์ของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ จะมีเสียงรบกวนจากห้องข้าง ๆ หรือห้องข้างบน-ล่าง จึงควรระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่กลางคืนจนถึงเช้าตรู่ ไม่เฉพาะแต่งานปาร์ตี้ที่มีคนมาร่วมมาก หรือการเล่นเครื่องดนตรีเท่านั้นการพูดเสียงดังในห้องตัวเองก็อาจเป็นสาเหตุของปัญหาได้

Q: เครื่องปรับอากาศที่ติดตั้งอยู่ในบ้านเช่าเสีย ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าซ่อมแซม?

A: การที่เจ้าของบ้านจะเป็นผู้จ่ายค่าซ่อมแซม หรือผู้เข้าพักอาศัยเป็นผู้จ่ายนั้น ขึ้นอยู่ว่าเครื่องนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้แต่แรกหรือเป็นอุปกรณ์ที่ผู้เช่าคนก่อนทิ้งเอาไว้ เวลาทำสัญญาจะได้รับ “ใบอธิบายข้อมูลสำคัญ” ซึ่งระบุไว้ว่าอุปกรณ์ใดเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้แต่แรก กรณีที่เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้แต่แรก ก็ไม่ต้องซ่อมแซมเอง ให้ติดต่อไปที่เจ้าของบ้านหรือบริษัทจัดการดูแลที่พักอาศัย แล้วปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้รับ แต่อย่างไรก็ตามถ้าเจ้าของบ้านไม่จัดการซ่อมแซมให้ หรือมีความรีบด่วนที่จะใช้อุปกรณ์นั้นผู้เข้าพักอาศัยก็อาจจะตัดสินใจซ่อมแซมเองก็ได้ แต่เรื่องที่ว่าใครจะเป็นผู้จ่ายค่าซ่อมแซมนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับสาเหตุของความเสียหาย ถ้าผู้เข้าพักอาศัยเป็นผู้ที่ทำความเสียหาย เพราะไม่ระวังก็อาจถูกเรียกเก็บเงินค่าซ่อมก็ได้ และถ้าอุปกรณ์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ผู้เช่าคนก่อนทิ้งเอาไว้ผู้เข้าพักอาศัยก็จะต้องเป็นผู้จ่ายค่าซ่อมแซมเอง

Q: ได้ย้ายออกจากอพาร์ทเมนท์ที่เช่าอาศัยอยู่ แต่เนื่องจากเจาะรูที่ผนัง ดังนั้นจึงถูกเจ้าของบ้านเช่าเรียกเก็บค่าซ่อมแซมนอกเหนือจากเงินมัดจำ ควรจะทำอย่างไร?

A: ผู้เช่าจะย้ายออกจากห้องพักต้องมี “หน้าที่จัดการให้อยู่ในสภาพเดิม” ในกรณีที่ของเสียหายหรือความสกปรกนั้นเกิดขึ้น จากความประมาทหรือความไม่ระมัดระวังของผู้เช่า ผู้เช่าก็จะต้องรับผิดชอบในการจ่ายค่าซ่อมแซมนั้นเอง หากท่านจ่ายค่ามัดจำไว้ล่วงหน้าแล้ว ปกติก็จะถูกหักจากค่ามัดจำนั้น และเวลาย้ายออกจะต้องรับผิดชอบในการทิ้งอุปกรณ์เครื่องใช้ตัวเอง นอกเสียจากว่า เป็นกรณีที่ของเสียหายนั้นเกิดขึ้นโดยการเสื่อม หรือการสึกกร่อนโดยธรรมชาติ เพราะถูกใช้เป็นเวลานานนั้นจะไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เช่า สามารถตรวจสอบได้จาก “ไกด์ไลน์ชี้แจงปัญหาเกี่ยวกับการจัดการให้อยู่ในสภาพเดิม” ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งนำมาเป็น หลักเกณฑ์ในการย้ายออกจากห้องพักโดยทั่วไปได้

เพื่อความชัดเจนทางกฎหมาย ควรปรึกษากับทนายเกี่ยวกับกฎหมายที่ทางหน่วยงานท้องถิ่นจัดขึ้นให้ ซึ่งอาจจะทำการร้องเรียนต่อศาลขั้นต้นเพื่อไกล่เกลี่ยในขั้นสุดท้ายได้ด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ กระบวนการระงับข้อพิพาทนอกศาล หรือ การระงับข้อพิพาททางเลือก (ADR) เพื่อขอประนีประนอม หรือขอใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (การระงับข้อพิพาทโดยไม่ให้ศาลตัดสิน) ได้

Q: หากมีคำถามอื่น ๆ เกี่ยวกับที่พักอาศัย สามารถปรึกษาได้ที่ไหน?

A: นอกเหนือจากการปรึกษาหารือดังกล่าวแล้ว สำนักงานที่ปรึกษาการเคหะจังหวัดโอซาก้ายังรับคำปรึกษาด้านที่พักอาศัยต่างๆ
ให้คำปรึกษาฟรี และจะได้รับความร่วมมือจาก OFIX ในการรับคำปรึกษาจากชาวต่างชาติ

โทรศัพท์: 06-6944-8269
*ชาวต่างชาติสามารถโทรติดต่อ OFIX โดยตรง (06-6941-2297)
ที่ตั้ง: 3-2-12 ชั้น 1 อาคารเสริมของตึกสำนักงานราชการจังหวัดโอซาก้า, โอเทะมาเอะ, เขตจูโอว, เมืองโอซาก้า
เวลาทำการ: 9:00น. – 12:00น. , 13:00น. – 17:30น.
เฉพาะวันธรรมดาเท่านั้น (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์, วันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่)