คำถามที่พบบ่อย

Select Language
พาสปอร์ต
ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่น หากทำหนังสือเดินทางหาย  ควรจะต้องทำอย่างไร

ในกรณีที่ชาวต่างชาติทำหนังสือเดินทาง  มีขั้นตอนการเดินเรื่องดังนี้

①   แจ้งหายที่สถานีตำรวจใกล้พื้นที่ เพื่อให้ออกใบรับแจ้งความ “ใบแจ้งสูญหาย” หรือ “ใบรับรองรับแจ้งการถูกลักทรัพย์”

②   ติดต่อกับสถานทูตหรือสถานกงสุลประเทศของตนที่ประจำอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อยื่นขอทำหนังสือเดินทาง

ใหม่(หนังสือเดินทางชั่วคราว, หนังสือรับรองการเดินทาง)ให้

สำนักงานตำรวจแห่งจังหวัดโอซาก้า

สถานทูตหรือสถานกงสุลที่ประจำอยู่ในประเทศญี่ปุ่น

การเข้าประเทศ
ระเบียบการยื่นเรื่องขอเข้าประเทศญี่ปุ่น

○ระเบียบการ 
① ผู้ทำเรื่องขอเข้าญี่ปุ่นครั้งแรก ยื่น “หนังสือเดินทาง” และ “การ์ดED(ใบบันทึกการเดินทางเข้าออกของชาวต่างชาติ=ใบตรวจคนเข้าเมืองหรือต.ม. 6)” เป็นต้น ให้กับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง   เมื่อได้รับการยอมรับว่ามีความเหมาะสมในเงื่อนไขการอนุญาตให้เข้าประเทศแล้ว  ก็จะติดสติ๊กเกอร์ “อนุญาตให้เข้าประเทศ” ในหนังสือเดินทาง เมื่อเข้าประเทศแล้วได้มีสถานภาพเป็นผู้ที่พำนักอยู่ระยะกลางหรือระยะยาว จะได้รับบัตรประจำตัวผู้พำนัก(ไซริวการ์ด) ไซริวการ์ดนี้จะออกให้ตอนเข้าประเทศที่สนามบินชินชิโตเสะ, สนามบินฮาเนดะ, สนามบินจูวบุ, สนามบินคันไซ, สนามบินฮิโรชิมะ และสนามบินฟุกุโอกะ   นอกเหนือจากนี้ ท่าเรือที่มีการเข้าออกประเทศที่ถูกลงบันทึกในหนังสือเดินทาง
“ออกไซริวการ์ดให้วันหลัง” หลังจากทำการลงชื่อในทะเบียนผู้พำนักประเทศญี่ปุ่น ณ ที่ว่าการอำเภอแล้ว
ไซริวการ์ดจะถูกส่งมาให้เจ้าตัวทางจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์

②   เมื่อได้รับ “การประทับตราวีซ่าเพื่อกลับเข้าประเทศอีกครั้ง (รีเอ็นทรีวีซ่า หรือ ไซนิวโคะคุเคียวคะ)” ไม่จำเป็นต้องขอวีซ่าใหม่ หนังสือเดินทางที่ติดสติ๊กเกอร์วีซ่ากลับเข้าประเทศอีกครั้ง เวลากลับเข้าประเทศอีกครั้งต้องยื่นการ์ดEDให้กับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง

③   กรณีที่ออกนอกประเทศโดยใช้ “ประทับตราพิเศษวีซ่าเพื่อกลับเข้าประเทศอีกครั้ง(หรือ มินาชิไซนิวโคะคุเคียวคะ” นั้นก็เช่นกัน ถ้ากลับมาอีกครั้งภายใน 1 ปีหลังจากออกนอกประเทศ
(ภายใน 2 ปีสำหรับผู้พำนักถาวรพิเศษ) ไม่จำเป็นต้องขอวีซ่าใหม่  แสดงหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ(ถ้าหลังจากออกนอกประเทศแล้ววีซ่าในการพำนักอยู่เหลืออายุไม่ถึง 1 ปี  กรณีนี้ตราพิเศษวีซ่าเพื่อกลับเข้าประเทศอีกครั้งนี้ก็จะมีผลจนถึงอายุวีซ่านั้น)ในการ์ดEDเพื่อการเข้าประเทศอีกครั้งมีช่องแสดงความเจาะจงการออกนอกประเทศ โดยตราพิเศษวีซ่าเพื่อกลับเข้าประเทศอีกครั้ง   *เวลากลับเข้าประเทศอีกครั้ง อาจต้องยื่นแสดง
ไซริวการ์ดด้วย

มาตรฐานในการเข้าประเทศนั้นตรวจสอบได้ที่โฮมเพจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสถานภาพการพำนัก

สถานภาพการพำนักอาศัย | ประเภทของวีซ่า
สถานะการพำนักคืออะไร    ประเภทของสถานะการพำนักมีอย่างไรบ้าง

ในการที่ชาวต่างชาติได้รับอนุญาตให้ทำกิจกรรมตามประเภทที่กำหนดหรืออัตภาพ  สถานภาพระหว่างที่พำนักอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นนั้น ได้ถูกกำหนดไว้ตามกฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยแบ่งเป็นหลายสถานะ

ตารางประเภทสถานภาพการพำนัก

สถานภาพการพำนักอาศัย | สถานภาพวีซ่าระยะสั้น
มีกิจกรรมอะไรบ้างที่อนุญาตให้ดำเนินการของสถานะการเป็นผู้อาศัยระยะสั้น

สถานภาพการเป็นผู้อาศัยระยะสั้นนั้น ตามกฏแล้วถูกห้ามทำงาน หรืออื่นๆ ที่เป็นกิจกรรมที่มีรายได้

ยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 วรรค 3 ของกฎข้อบังคับการบังคับใช้กฏหมายควบคุมคนเข้าเมืองและการคุ้มครองผู้ลี้ภัย ขอบเขตของกิจกรรมวีซ่าการพำนักระยะสั้นมีดังนี้ ท่องเที่ยว, พักฟื้น, เล่นกีฬา, เยี่ยมเยือนญาติหรือคนรู้จัก, ดูงาน, เข้าร่วมอบรมในหลักสูตรระยะสั้น หรือพบปะเจรจาการค้า ติดต่องานฯลฯ หรือกิจกรรมที่คล้ายคลึงกับที่กล่าวมานี้

กรณีที่เข้าประเทศด้วยวีซ่าการพำนักระยะสั้น แต่ต้องการจะยืดระยะเวลาการพำนัก สามารถต่อวีซ่าได้หรือไม่

ตามปกติการอนุญาตต่อวีซ่าการพำนักระยะสั้นนั้น หากมิใช่เหตุผลสำคัญที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จะไม่ออกให้    กรุณาตรวจสอบรายละเอียดได้ที่โฮมเพจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

สถานภาพการพำนักอาศัย | สถานภาพวีซ่าที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
ต้องการทำงานที่ญี่ปุ่นโดยเป็นครูสอนภาษา  ควรจะต้องดำเนินการอย่างไร

สถานภาพการพำนักที่จะยื่นขอนั้นแตกต่างกันไป ตามลักษณะของผู้จ้าง

①     วีซ่า “อาจารย์” เป็นกิจกรรมการสอน, การวิจัย ผู้แนะนำการวิจัยในมหาวิทยาลัย สถาบันเทียบเท่า หรือ โรงเรียนมัธยมปลายสายอาชีพ

②     วีซ่า “การศึกษา” เป็นกิจกรรมการสอนภาษาหรือการสอนอื่น ๆ ในโรงเรียนประถม  โรงเรียนมัธยมต้น    โรงเรียนมัธยมปลาย  โรงเรียนการศึกษาพิเศษสนับสนุนการช่วยเหลือตัวเอง  สถาบันการศึกษาเฉพาะทาง  โรงเรียนทั่วไป  หรือสถาบันเท่าเทียมที่เกี่ยวข้องที่มีอุปกรณ์หรือการจัดตั้งเกี่ยวกับการศึกษา

③     วีซ่า “ผู้เชี่ยวชาญ, ผู้มีความรู้ทางวัฒนธรรม, กิจการต่างประเทศ” ถูกจ้างให้เป็นครูในโรงเรียนสอนภาษาที่ กิจการต่างๆนั้นเป็นผู้บริหาร  หรือเป็นครูที่ทำการสอนภาษาในบริษัทที่จัดการอบรมทางด้านภาษาต่าง ประเทศให้กับพนักงานเกี่ยวกับระเบียบการยื่นขอสถานภาพการเป็นผู้อาศัยต่าง ๆ กรุณาตรวจสอบได้ที่

โฮมเพจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ต้องการทำงานเป็นกุ๊ก(พ่อครัว)ที่ภัตตาคารญี่ปุ่น ต้องการทราบเงื่อนไขการยื่นขอสถานภาพการ เป็นผู้อาศัย “ผู้ชำนาญการ”

เงื่อนไขของสถานภาพการเป็นผู้อาศัย “ผู้ชำนาญการ” หรือทักษะความชำนาญนั้นคือ “กิจกรรมการทำงานที่

จะต้องมีความสามารถเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการทำงานสาขาเฉพาะด้าน ตามสัญญาที่ทำกับบริษัทหรือสถาบันทั้ง

ของรัฐและของเอกชนในประเทศญี่ปุ่น” การทำงานอุตสาหกรรมสาขาเฉพาะพิเศษได้หมายถึง งานอุตสาหกรรมที่

มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวในต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังรวมถึงสาขาทางอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นมีจำนวนผู้เชี่ยวชาญน้อย กรุณาตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ โฮมเพจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

สถานภาพการพำนักอาศัย | กิจกรรมเฉพาะพิเศษ
ต้องการมาประเทศญี่ปุ่นโดยใช้เวิร์คกิ้งฮอลิเดย์   ต้องการทราบเงื่อนไขและระเบียบการ

<คำจำกัดความของระบบ>

เวิร์คกิ้งฮอลิเดย์ เป็นโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างสองประเทศที่มีข้อตกลงร่วมกัน เพื่อการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศอย่างลึกซึ้ง โดยมีกำหนดระยะเวลา วีซ่าที่มีจุดประสงค์ในการพำนัก เพื่อการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่มีข้อยกเว้นอนุญาตให้ทำงานชั่วคราวได้ในระหว่างนั้น เพื่อเป็นการชดเชยค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว  เกี่ยวกับเงื่อนไขและระเบียบการ กรุณาตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ โฮมเพจของกระทรวงการต่างประเทศ

นักศึกษาต่างชาติสามารถพำนักต่อเพื่อหางานทำหลังจากจบการศึกษาแล้วได้หรือไม่

นักศึกษาต่างชาติจบการศึกษาแล้ว แต่ยังไม่กำหนดสถานที่ทำงานในญี่ปุ่นนั้น ให้เปลี่ยนสถานภาพการพำนักเป็น “สถานภาพผู้มีกิจกรรมพิเศษ” ก่อน เพื่อหางานทำต่อได้  สามารถใช้ “สถานภาพผู้มีกิจกรรมพิเศษ” เป็นระยะยาวที่สุดหลังจากจบการศึกษาแล้ว 1 ปี โดยมีการรับรองจากสถาบันการศึกษา ว่าจะสนับสนุนช่วยเหลือในการหางานทำนั้น กรุณาตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ โฮมเพจของกระทรวงยุติธรรม

สถานภาพการพำนักอาศัย | การศึกษา
มีสถาบันการศึกษาใดที่สามารถออกวีซ่า “นักเรียน

สถาบันการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นเช่นมหาวิทยาลัย, โรงเรียนมัธยมปลายสายอาชีพ,โรงเรียนมัธยม
ปลาย(รวมถึงโรงเรียนมัธยมต้นที่มีหลักสูตรมัธยมปลายด้วย)หรือหลักสูตรมัธยมปลายของโรงเรียนการศึกษาพิเศษสนับสนุนการช่วยเหลือตัวเอง,โรงเรียนมัธยมต้น
(รวมถึงโรงเรียนมัธยมต้นที่มีหลักสูตรประถมด้วย)หรือหลักสูตรมัธยมต้นของโรงเรียนการศึกษาพิเศษสนับสนุนการช่วยเหลือตัวเอง,โรงเรียนประถมศึกษาหรือหลักสูตรประถมศึกษาของโรงเรียนการศึกษาพิเศษสนับสนุนการช่วยเหลือตัวเอง,สถาบันการศึกษาเฉพาะทางหรือโรงเรียนทั่วไป  หรือสถาบันเท่าเทียมที่เกี่ยวข้องที่มีอุปกรณ์หรือการจัดตั้งเกี่ยวกับการศึกษา

สถานภาพการพำนักอาศัย | การฝึกอบรม
ต้องการทราบว่าระบบของการฝึกอบรม / ผู้เข้าฝึกงานด้านเทคนิคนั้นเป็นอย่างไร

ระบบของการฝึกอบรม, ผู้เข้าฝึกงานด้านเทคนิคนั้น เป็นระบบที่ทางประเทศญี่ปุ่นต้องการร่วมมือกับนานา

ชาติ และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อนานาชาติ โดยการถ่ายทอดเทคนิคความรู้ของญี่ปุ่นให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา ทางบริษัทญี่ปุ่นหรือองค์กรต่างๆของรัฐ  จะรับคนงานวัยหนุ่มสาวชาวต่างชาติเพื่ออบรมเสริมความรุ้ และเทคนิคต่าง ๆ ของญี่ปุ่น เพื่อสร้างบุคลากรให้มีความสามารถที่จะนำประสบการณ์ความรู้ความสามารถนี้กลับไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศของตน กรุณาตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ โฮมเพจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสถานภาพการพำนัก หรือที่ โฮมเพจของ(มูลนิธิเพื่อสาธารณประโยชน์)องค์กรทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น

สถานภาพการพำนักอาศัย | สถานภาพความสัมพันธ์
ต้องการจะแต่งงานกับสตรีชาวต่างชาติ ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ  หลังจากแต่งงานที่ประเทศของคู่สมรสแล้ว  ต้องการเรียกคู่สมรสมาใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น

ระเบียบการสมรส:ก่อนอื่นปฏิบัติตามระเบียบวิธีการสมรสที่ถูกต้องของต่างประเทศ วิธีการเรียกคู่สมรสมาญี่ปุ่นนั้นมี 2 วิธีดังนี้

<ระเบียบการขอวีซ่าให้คู่สมรส>

①   “การยื่นขอวีซ่าล่วงหน้า” เป็นวิธีที่ผู้ยื่นชาวต่างชาติทำการยื่นขอวีซ่า “คู่สมรสของคนญี่ปุ่น” โดยตรง ณ สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศนั้น

②    “ใบรับรองสถานภาพการพำนัก” เป็นวิธีหลังจากคู่สมรสคนญี่ปุ่นกลับญี่ปุ่นแล้ว การยื่นขอ “ใบรับรองสถานภาพการพำนัก” ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่อยู่ใกล้กับที่พำนักของตน
เมื่อได้เอกสารดังกล่าวแล้ว  ส่งไปให้คู่สมรสชาวต่างชาติ เพื่อนำไปยื่นขอวีซ่า ณ สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศนั้น

พำนักอยู่ที่ญี่ปุ่นโดยอยู่ในฐานะนักศึกษาต่างประเทศ  ต้องการเรียกภรรยาและบุตรมาใช้ชีวิต ร่วมกันที่ญี่ปุ่น ควรจะต้องทำระเบียบการอย่างใด  และภรรยจะทำงานได้หรือไม่

นักศึกษาต่างประเทศ ผู้เป็นฝ่ายยื่นขอวีซ่าจะต้องยื่นขอใบรับรองสถานภาพการพำนัก “อาศัยอยู่กับครอบครัว” ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่อยู่ใกล้กับที่พำนักของตน การยื่นขอใบรับรองสถานภาพการพำนัก “อาศัยอยู่กับครอบครัว” กรุณาสอบถามกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสถานภาพการพำนัก “อาศัยอยู่กับครอบครัว” นี้ใม่อนุญาตให้ทำงาน  แต่ถ้ายื่นขอ
“ใบอนุญาตทำกิจกรรมนอกเหนือจากคุณวุฒิที่ได้รับอนุญาต” ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแล้วจะสามารถทำงานชั่วคราว(อะรุไบโตะ)ได้(มีการจำกัดเวลาและจำกัดเนื้อหาในการทำงาน) 

ต้องการให้ลูกขึ้นมาพำนักอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น  ปัจจุบันแต่งงานใหม่แล้วกับผู้ชายญี่ปุ่น、ต้องการให้ลูกซึ่งเกิดจากการสมรสครั้งก่อนมาพำนักอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นด้วยกัน  ลูกอายุ10 ขวบ

บุตรของคนต่างประเทศผู้ที่ปัจจุบันที่มีสถานภาพพำนักอาศัยเป็น「คู่สมรสของคนญี่ปุ่น」 และอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น、และไม่ใช่บุตรที่เกิดกับคู่สมรสคนญี่ปุ่นปัจจุบัน、บุตรของคู่สมรสคนต่างประเทศนั้นจะถือว่าเป็น「ลูกติด」、ในกรณีนี้、อาจจะได้รับการอนุญาตให้พำนักอาศัยได้ในฐานะ

「ผู้พำนักอาศัยระยะยาว(เทจูชะ)」ตรวจสอบรายละเอียดได้ที่โฮมเพจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสถานภาพการพำนัก

สถานภาพการพำนักอาศัย | ระเบียบการเกี่ยวกับวีซ่า
ต้องการทราบเงื่อนไขของการขอต่อวีซ่า

ในกรณีที่มีความประสงค์ที่จะขออยู่ต่อเพื่อดำเนินกิจกรรมในญี่ปุ่นต่อไปอีกโดยมีสถานภาพการ พำนักแบบเดิม、สามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงระยะเวลาของสถานภาพการพำนักได้ขณะที่วีซ่า

ยังไม่หมด คือ  สามารถยื่นคำร้องได้ล่วงหน้า 3 เดือนก่อนที่วีซ่าที่มีอยู่ปัจจุบันจะหมดอายุ
กรุณาตรวจสอบได้ที่ ไกด์ไลน์แนะนำการเปลี่ยนแปลงสถานภาพการพำนัก เปลี่ยนแปลงระยะเวลาของสถานภาพการพำนัก

สามีภรรยาชาวต่างประเทศที่พำนักอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น   ได้คลอดบุตรแล้ว  ควรจะต้องทำระเบียบการ อย่างไร

ในกรณีที่ทั้งบิดาและมารดาเป็นชาวต่างชาติ บุตรที่เกิดนั้นก็จะมีสัญชาติเป็นชาวต่างชาติด้วย ดังนั้นจำเป็น
ต้องยื่นขอ “สถานภาพการพำนัก” ให้บุตร    การยื่นขอ “สถานภาพการพำนัก” ได้ ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองภายใน 30 วันนับแต่วันเกิด และถ้าจะออกนอกประเทศญี่ปุ่นภายใน 60 วันนับแต่วันเกิดไม่จำเป็นต้องยื่นขอวีซ่า(ยกเว้นกรณีที่ออกนอกประเทศโดยวีซ่าเพื่อกลับเข้าประเทศอีกครั้ง(ไซนิวโคะคุเคียวคะ หรือ รีเอ็นทรีวีซ่า)) ในกรณีที่ทั้งบิดาและมารดาพำนักอาศัยโดยไม่มีสถานภาพการพำนัก หรืออยู่ระหว่างดำเนินการเนรเทศออกนอก
ประเทศ  บุตรที่เกิดนั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้ได้สถานภาพการพำนัก

<การแจ้งเกิด>
ต้องดำเนินการแจ้งเกิดภายใน 14 วันนับแต่วันเกิด  เมื่อแจ้งเกิดแล้ว จะออกทะเบียนบ้านให้โดยลงบันทึกว่าเป็น “ผู้มีสถานภาพพำนักอาศัยโดยการกำเนิด” ในทะเบียนบ้าน
(หากไม่ทำการยื่นขอสถานภาพการพำนักภายใน 30 วัน ก็จะถูกยกเลิกการขึ้นทะเบียนบ้าน)

<การขอสถานภาพการพำนัก>
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอสถานภาพการพำนักเนื่องจากการกำเนิด  มีดังต่อไปนี้
・เอกสารรับรองการกำเนิด(สูติบัตร, สมุดประจำตัวแม่และเด็ก ฯลฯ)
・เอกสารแสดงการปฏิบัติกิจกรรมในประเทศญี่ปุ่น
・หนังสือเดินทาง(จดหมายแจ้งเหตุผลในกรณีที่แสดงหนังสือเดินทางไม่ได้)

<ไซริวการ์ด>
เมื่อได้รับสถานภาพการพำนัก(วีซ่า)และเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นระยะกลางและระยะยาวแล้ว จะได้รับ “ไซริวการ์ด”

ต้องการทราบเงื่อนไขของการขออนุมัติวีซ่าถาวร

กรุณาตรวจสอบได้ที่โฮมเพจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกระทรวงยุติธรรม「ไกด์ไลน์แนะนำเกี่ยวกับการอนุมัติวีซ่าถาวร」 <เงื่อนไข>
①ต้องมีความประพฤติดี
ดำรงชีวิตประจำวันในฐานะพลเมืองธรรมดาคนหนึ่งที่ไม่เคยถูกกล่าวหาว่าร้ายใดๆ
②มีทรัพย์สินหรือทักษะความชำนาญพิเศษที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพด้วยตนเองอย่างเป็นเอกเทศ
สามารถใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่ได้เป็นภาระของทางราชการหรือสาธารณะ、และทรัพย์สินหรือทักษะ
ความชำนาญพิเศษที่มีอยู่นั้น สามารถคาดหวังได้ว่าจะทำให้มีความมั่นคงในการใช้ชีวิตในอนาคต
③การพำนักอาศัยอย่างถาวรของบุคคลนั้นๆสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประ เทศญี่ปุ่น
ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้แจ้งในไกด์ไลน์แนะนำเกี่ยวกับการอนุมัติวีซ่าถาวรให้ทราบที่
”ไกด์ไลน์แนะนำสำหรับการอนุมัติวีซ่าถาวรของผู้ที่อุทิศตนให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศญี่ปุ่น”และ、”ตัวอย่างการอนุมัติ・ไม่อนุมัติวีซ่าถาวรแก่ผู้ที่อุทิศตนให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศญี่ปุ่น”ด้วย

”ใบอนุญาตทำกิจกรรมนอกเหนือจากคุณวุฒิที่ได้รับอนุญาต” นี้ จำเป็นต้องใช้เมื่อไร

ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่นถูกจำกัดขอบเขตของการทำกิจกรรมตามสถานภาพการพำนักที่ถืออยู่ ในกรณีที่มีรายได้ไม่สมดุลย์กับกิจการที่ทำนั้น  หรือถูกห้ามไม่ให้ทำกิจกรรมใดๆที่มีรายได้    แต่ถ้ามีความประสงค์ที่จะทำ
กิจกรรมที่มีรายได้ หรือดำเนินกิจการที่มีรายได้สมดุลย์โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมเดิมที่ทำอยู่  และได้รับการ
ยอมรับว่าเหมาะสม  จะได้รับการอนุญาต   แต่สำหรับผู้ที่มีสถานภาพการพำนักเป็นคู่สมรสของคนญี่ปุ่นอื่น ๆ
ผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นระยะยาว ผู้ที่เป็นคู่สมรสของวีซ่าถาวรอื่น ๆ และผู้ถือวีซ่าถาวรนี้ ไม่มีการจำกัดขอบเขตของการทำกิจกรรม  ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องขอ
“ใบอนุญาตทำกิจกรรมนอกเหนือจากคุณวุฒิที่ได้รับอนุญาต”

มีสถานภาพการพำนักเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นระยะยาว แต่ต้องการกลับประเทศชั่วคราว ขอทราบ  ระเบียบการที่จำเป็น

ผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นระยะกลาง และระยะยาวจะเดินทางออกนอกประเทศและกลับเข้ามาอีกครั้ง โดยใช้
สถานภาพการพำนักที่มีอยู่เดิมนั้น  มี 2 วิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ออกนอกประเทศดังนี้

กรณีที่ออกนอกประเทศไม่เกิน 1 ปี:
ชาวต่างชาติที่มีหนังสือเดินทางและไซริวการ์ดที่ยังไม่หมดอายุ (ใบรับรองวีซ่าถาวรพิเศษสำหรับผู้ถือวีซ่าถาวรพิเศษ)เดินทางออกนอกประเทศได้ภายใน 1 ปี
(*กรณีที่วีซ่าหลังเดินทางออกนอกประเทศมีอายุเหลือไม่ถึง 1 ปี ก็จะอนุญาตให้จนถึงหมดอายุวีซ่า และสำหรับผู้ถือวีซ่าถาวรพิเศษได้ภายใน 2 ปี)
และต้องการกลับเข้ามาอีกครั้งโดยใช้สถานภาพการพำนักที่มีอยู่เดิมนั้น ตามหลักไม่จำเป็นต้องขอ รีเอ็นทรีวีซ่า     
ผู้ที่ต้องการออกนอกประเทศโดยใช้ระบบนี้จะไม่สามารถต่ออายุวีซ่าที่ต่างประเทศได้  
(*)ถ้าไม่กลับเข้ามาใหม่หลังออกนอกประเทศแล้วก่อนครบ 1 ปี  จะสูญเสียสถานภาพการพำนักที่มีอยู่

กรณีที่ออกไปนอกประเทศเกิน 1 ปีขึ้นไป(เกิน 2 ปี  สำหรับผู้มีวีซ่าถาวรพิเศษ):
ก่อนออกนอกประเทศ   ขอ “วีซ่าเพื่อกลับเข้าประเทศอีกครั้ง หรือรีเอ็นทรีวีซ่า” ได้ ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่อยู่ใกล้กับที่พำนักของตน

ช่วงระยะเวลาจำกัด:ระยะเวลาของวีซ่าเพื่อกลับเข้าประเทศอีกครั้ง หรือรีเอ็นทรีวีซ่านั้น สุงสุด ”5 ปี” ( 6 ปี  สำหรับผู้ถือวีซ่าถาวรพิเศษ)

เปลี่ยนที่ทำงานจากบริษัทเดิมที่ทำมา 3 ปี  ระเบียบการที่ต้องทำมีอะไรบ้าง

การเปลี่ยนที่ทำงานของผู้ที่มีสถานภาพการพำนักเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ, ผู้มีความรู้ทางวัฒนธรรม, กิจการต่าง
ประเทศ” ฯลฯ จำเป็นต้อง “แจ้ง” ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองรับทราบภายใน 14 วัน   และทางฝ่ายบริษัทที่ทำงานอยู่ก็จำเป็นต้องแจ้งภายใน 14 วันเช่นกัน และสามารถที่จะขอ “ใบรับรองการทำงาน” เพื่อเป็นการยืนยันว่าการทำงานกับบริษัทใหม่นั้นเหมาะสมกับสถานภาพการพำนักปัจจุบันหรือไม่   และเพื่อความราบรื่นในการต่อวีซ่าครั้งต่อไป เพราะกรณีที่ผู้จ้างใหม่จะรับชาวต่างชาติเข้าทำงานนั้น ถ้ามีใบรับรองการทำงานนี้ จะสามารถสืบตรวจล่วงหน้าได้ว่าสถานภาพการพำนักของก่อนเปลี่ยนที่ทำงาน กับหลังเปลี่ยนที่ทำงานว่าสอดคล้องกันหรือไม่ด้วย  ใบรับรองการทำงานนี้ไม่บังคับให้ทำการขอ เพราะจะออกให้สำหรับผู้ยื่นทำการขอเท่านั้น

สถานภาพการพำนักอาศัย | การลงโทษ
ระบบคำสั่งให้ออกนอกประเทศเป็นระบบอย่างไร

เป็นระบบที่ให้คนต่างประเทศที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นอย่างผิดกฏหมายออกนอกประเทศ、โดยมีการดำเนินระเบียบการอย่างง่ายๆ และปราศจากการควบคุมตัวแต่อย่างใด

กรุณาตรวจสอบได้ที่   โฮมเพจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสถานภาพการพำนัก

สิทธิในการพำนักอาศัยจะถูกเพิกถอนในกรณีอย่างไร

ข้อความเกี่ยวกับกรณีถูกเพิกถอนสิทธิการพำนักอาศัยที่ได้รับอยู่ในขณะนั้น、ถูกระบุอยู่ในกฏหมาย ควบคุมคนเข้าเมืองและผู้ลี้ภัยมาตราที่ 22 ข้อ 4    ยกเว้นผู้ที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นผู้ลี้ภัย กรุณาตรวจสอบได้ที่   โฮมเพจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสถานภาพการพำนัก

ระบบบัตรพำนักอาศัยและการลงทะเบียนพำนักอาศัยของชาวต่างชาติ
เข้ามาญี่ปุ่นด้วยวีซ่า "พำนักระยะสั้น"、จะได้รับบัตรพำนักอาศัย(ไซริวการ์ด)หรือไม่ เนื่องจากมีกำหนดจะทำระเบียบการต่อวีซ่า"พำนักระยะสั้น"เพื่อพำนักเกินกว่า 3 เดือน、จึงต้องการขอให้ออกบัตรให้、 เพื่อเป็นหลักฐานแสดงตัวพิสูจน์บุคคล

ในกรณีที่เข้ามาญี่ปุ่นด้วยวีซ่า "พำนักระยะสั้น" ถึงแม้จะต่อวีซ่าแล้วพำนักอาศัยอยู่เกิน 3 เดือนขึ้นไปก็ตามจะไม่ได้รับการออกบัตรพำนักอาศัย(ไซริวการ์ด)
ผู้ที่จะได้รับบัตรพำนักอาศัยคือ   คนต่างประเทศที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่นในระยะเวลาปานกลางและระยะ
เวลายาว    คนต่างประเทศที่อยู่ในข่ายบุคคลดังต่อไปนี้ จะไม่ได้รับการออกบัตรไซริวการ์ด
① ผู้ที่ได้รับการกำหนดให้มีระยะเวลาพำนักอาศัยไม่เกิน「3 เดือน」
② ผู้ที่ได้รับการกำหนดให้ถือวีซ่าระยะสั้น
③ ผู้ที่ได้รับการกำหนดให้ถือวีซ่าการทูตหรือราชการ
④   ผู้ที่กฏหมายกระทรวงยุติธรรมกำหนดให้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าคนต่างประเทศที่ อยู่ในข้อ ① ถึงข้อ ③
⑤ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยถาวรเป็นกรณีพิเศษ(จะได้รับการออก"เอกสารรับรองการเป็นผู้ พำนักอาศัยถาวรกรณีพิเศษ")
⑥ ผู้ที่ไม่มีวีซ่า

กรณีที่เข้ามาประเทศญี่ปุ่นด้วยวีซ่า"พำนักอาศัยระยะสั้น"、แม้ว่าจะได้รับการต่อวีซ่าให้พำนักได้อีกเกินกว่า 3 เดือน ก็จะไม่ได้รับการออกบัตรพำนักอาศัย(ไซริวการ์ด)

ในกรณีที่ย้ายไปอยู่ที่เขตเทศบาลหรือท้องถิ่นอื่น หรือย้ายไปอยู่ที่ต่างประเทศ จะต้องดำเนินการอย่างไร

ก่อนอื่นต้องยื่น "แจ้งย้ายออก"ล่วงหน้าที่ที่ว่าการเขตตำบลหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ปัจจุบัน      และ
หลังจากนั้น、เมื่อย้ายเข้าไปอยู่ที่อยู่ใหม่แล้ว ก็จะต้องยื่น "แจ้งย้ายเข้า"ต่อที่ว่าการเขตที่อยู่ใหม่
ภายใน 14 วัน  การดำเนินการนี้、ต้องนำบัตรพำนักอาศัย(ไซริวการ์ด) 、หรือบัตรรับรองการเป็นผู้
พำนักอาศัยถาวรกรณีพิเศษ พร้อมกับ"ใบรับรองการแจ้งย้ายออก"ไปยื่นด้วย   ถึงแม้จะเป็นเขต
เทศบาลเดียวกันก็ตาม、 เมื่อย้ายเข้าไปอยู่ที่อยู่ใหม่แล้ว、ก็จะต้องยื่น "แจ้งการย้ายที่อยู่"ภายใน 14 วันด้วย
นอกจากนี้、การที่จะย้ายออกไปอยู่ต่างประเทศ ก็ต้องยื่น、"แจ้งย้ายออก"   แต่ในกรณีนี้、จะไม่
มีการออก"ใบรับรองการแจ้งย้ายออก"ให้    ดังนั้น จะกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นใหม่ได้ด้วย re-entryวีซ่า、
และเมื่อมีที่พำนักเป็นหลักฐานแล้ว、ก็จะต้องนำพาสปอร์ต และไซริวการ์ด、ไปทำระเบียบการ

แจ้งย้ายเข้าภายใน 14วันเช่นกัน
ถ้าไม่ดำเนินการยื่นเอกสารแจ้งย้ายที่จำเป็นดังกล่าว、    อาจเป็นไปได้ว่าจะถูกลงโทษหรือถูก
พิจารณายกเลิกวีซ่าพำนักอาศัยนั้น

PAGE TOP